วันอาทิตย์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2559

สารคดี ปริศนาคัมภีร์ไบเบิล 1-3

  • สารคดี ปริศนาคัมภีร์ใบเบิ้ล เป็นปริศนาคัมภีร์ ที่สร้างความสั่นเสทือน ความศรัทธา ความเชื่อในเรื่องของศาสนาคริสต์ อย่างรุนแรง

วันพุธที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2559

5 ยุวกษัตริย์กรุงศรีอยุธยา ถูกผู้ใหญ่ฆ่าเรียบ

ผู้เข้มแข็งเท่านั้นที่จะได้ครองอำนาจ!๕ ยุวกษัตริย์กรุงศรีอยุธยา ถูกผู้ใหญ่ฆ่าเรียบ!!
วัดโคกพระยา จุดจบของกษัตริย์กรุงศรีอยุธยาหลายพระองค์

๕ ยุวกษัตริย์กรุงศรีอยุธยา ถูกผู้ใหญ่ฆ่าเรียบ
ผู้เข้มแข็งเท่านั้นที่จะได้ครองอำนาจ!๕ ยุวกษัตริย์กรุงศรีอยุธยา ถูกผู้ใหญ่ฆ่าเรียบ!!


  • เมื่อพระเจ้าอู่ทองย้ายราชธานีจากเมืองอโยธยา ข้ามฟากแม่น้ำมาสถาปนากรุงศรีอยุธยาขึ้นในปี พ.ศ.๑๘๙๓ โปรดเกล้าฯให้ขุนหลวงพงั่ว ซึ่งเป็นพี่มเหสี เป็น สมเด็จพระบรมราชาธิราช ไปครองเมืองสุพรรณบุรี และให้ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอพระราเมศวร ไปครองเมืองลพบุรี
  • พระเจ้าอู่ทอครองราชย์อยู่ ๒๐ ปีสวรรคต พระราเมศวร จึงเสด็จจากเมืองลพบุรี มาครองราชย์แทน
  • พระราเมศวรครองราชย์อยู่เกือบปี สมเด็จพระบรมราชาธิราช ผู้เป็นพระเชษฐาของพระมารดา ก็เสด็จมาจากเมืองสุพรรณบุรี สมเด็จพระราเมศวรออกไปต้อนรับแล้วอัญเชิญเข้าพระนคร ถวายราชสมบัติให้ จากนั้นก็กลับไปครองเมืองลพบุรีตามเดิม

     
       สมเด็จพระบรมราชาธิราชครองราชย์อยู่ ๑๓ ปีสวรรคต เจ้าทองจันทร์ หรือ ทองลัน ราชโอรสวัย ๑๕ พรรษาขึ้นครองราชย์แทน ซึ่งนับเป็นยุวกษัตริย์พระองค์แรกของกรุงศรีอยุธยา แต่ครองราชย์อยู่ได้เพียง ๗ วันเท่านั้น พงศาวดารบันทึกไว้ว่า
     
       “สมเด็จพระราเมศวรเสด็จลงมาแต่เมืองลพบุรี เข้าในพระราชวังได้ กุมเอาเจ้าทองจันทร์ได้ ให้พิฆาตเสียวัดโคกพระยา แล้วพระองค์ได้เสวยราชสมบัติ”
       พงศาวดารไม่ได้บันทึกรายละเอียดของเหตุการณ์ช่วงนี้ไว้ นอกจากสันนิษฐานได้ว่า ผู้ที่จะครองราชย์ได้ก็คือผู้ที่เข้มแข็งที่สุดในเวลานั้น และผู้ที่อ่อนแอกว่าก็จะต้องถูกกำจัดไปให้สิ้นปัญหา ไม่ปล่อยให้บ่มตัวจนกลับมาเป็นผู้เข้มแข็งขึ้นอีก
       ยุวกษัตริย์องค์ต่อไปที่ต้องตกเป็นเหยื่อของการช่วงชิงอำนาจ ก็คือ พระรัษฎาธิราช ผู้มีพระชนม์เพียง ๕ พรรษา
     
       สมเด็จพระรัษฎาธิราชเป็นราชโอรสของสมเด็จพระบรมราชาหน่อพุทธางกูร ซึ่งครองราชย์อยู่ ๔ ปีเศษก็สวรรคตด้วยโรคไข้ทรพิษ และไม่ได้ทรงแต่งตั้งรัชทายาทไว้ บรรดาขุนนางข้าราชการจึงอัญเชิญสมเด็จพระรัษฎาธิราชกุมาร ซึ่งมีพระชนมายุเพียง ๕ พรรษาขึ้นครองราชย์
     
       เมื่อครองราชย์อยู่เพียง ๕ เดือนเศษ พระไชยราชา สมเด็จอาซึ่งเป็นพระอนุชาของสมเด็จพระบรมราชาหน่อพุทธางกูรอันเกิดจากพระสนม และถูกส่งไปครองเมืองพิษณุโลก ก็ยกกองทัพมากรุงศรีอยุธยา จับสมเด็จพระรัษฎาธิราชไปประหารชีวิต ทั้งๆที่ตอนนั้นสมเด็จพระรัษฎาธิราชก็คงรู้เรื่องราวพอๆกับเด็ก ๕ ขวบ ยังไม่อาจเป็นพิษเป็นภัยกับใครได้ทั้งสิ้น แต่ก็ไม่รู้ว่าเมื่อโตขึ้นมาแล้วจะมีฤทธิ์เดชอย่างใด หรืออาจจะถูกใครจับเชิดมาทวงราชบัลลังก์คืน จึงต้องกำจัดไม่ให้เป็นเสี้ยนหนามต่อไป
     
       ยุวกษัตริย์องค์ที่ ๓ ของกรุงศรีอยุธยาก็คือ พระยอดฟ้า ซึ่งก็ไม่แคล้วที่จะต้องประสบชะตากรรมเช่นเดียวกับยุวกษัตริย์ ๒ พระองค์แรก พงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับพระราชหัตถเลขา กล่าวไว้ว่า
     
       “....ฝ่ายสมณพราหมณ์จารย์มุขมนตรี กวีราช นักปราชญ์ บัณฑิต โหราราชครูสโมสรพร้อมกันประชุมเชิญพระยอดฟ้าพระชนม์ได้ ๑๑ พรรษา เสด็จผ่านพิภพถวัลย์ราชประเพณีสืบศรีสุริยวงศ์อยุธยาต่อไป แล้วนางพระยาแม่อยู่หัวศรีสุดาจันทร์ผู้เป็นสมเด็จพระชนนี ช่วยทำนุบำรุงประคองราชการแผ่นดิน....”
     
       ความจริงแล้ว พระยอดฟ้าขึ้นครองราชย์ก็แต่ในนาม อำนาจทั้งหมดอยู่ในกำมือของเจ้าแม่อยู่หัวศรีสุดาจันทร์ นางจึงเป็นผู้มีอำนาจสูงสุดในแผ่นดิน แต่การกำจัดพระยอดฟ้าก็เป็นความจำเป็น ด้วยเหตุที่นางได้ลอบลักสมัครสังวาสกับขุนวรวงศา และเรื่องกำลังอื้อฉาวขึ้นเรื่อยๆ แม้นางได้พยายามกำจัดข้าราชการที่เป็นปฏิปักษ์แล้วก็ตาม แต่ก็ยังคงมีข้าราชการที่ไม่ยอมจงรักภักดีอีก ทั้งพระยอดฟ้าก็โตขึ้นทุกวัน อาจไปสมคบกับข้าราชการเหล่านั้น
     
       พงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขาได้บันทึกไว้อีกว่า
     
       “....ขณะนั้นนางพระยาแม่อยู่หัวศรีสุดาจันทร์มีครรภ์ด้วยขุนวรวงศาธิราช จึงมีพระเสาวนีย์ตรัสปรึกษาด้วยหมู่มุขมนตรีทั้งปวงว่า พระยอดฟ้าโอรสเรายังเยาว์นัก สาละวนแต่จะเล่น จะว่าราชการแผ่นดินนั้น เห็นเหลือสติปัญญานัก อนึ่งหัวเมืองฝ่ายเหนือเล่าก็ยังมิปกติ จะไว้ใจแต่ราชการมิได้ เราคิดจะให้ขุนวรวงศาธิราชว่าราชการแผ่นดิน กว่าราชบุตรเราจะจำเริญวัยขึ้น จะเห็นเป็นประการใด ท้าวพระยามุขมนตรีรู้พระอัชฌาสัยก็ทูลว่า ซึ่งตรัสโปรดมานี้ก็ควรอยู่....”
     
       จากนั้นนางจึงมีเสาวนีย์ตรัสสั่งให้เอาราชยาน เครื่องสูงแตรสังข์กับขัตติยวงศ์ ออกไปรับขุนวรวงศาเข้ามาในพระราชวัง แล้วตั้งพระราชพิธีราชาภิเษก ยกขุนวรวงศาขึ้นเป็นพระเจ้าแผ่นดินแทนพระยอดฟ้า
     
       จากนั้นชะตากรรมของยุวกษัตริย์อีกองค์ก็มาถึง เมื่อพระราชพงศาวดารบันทึกไว้ว่า
     
       “ครั้นศักราช ๘๙๑ ปีฉลู เอกศก (พ.ศ.๒๐๗๒) ณ วันอาทิตย์ ขึ้น ๕ ค่ำ เดือน ๘ ขุนวรวงศาธิราชเจ้าแผ่นดิน คิดกันกับแม่อยู่หัวศรีสุดาจันทร์ให้เอาพระยอดฟ้าไปประหารชีวิตเสีย ณ วัดโคกพระยา แต่พระศรีศิลป์น้องชายพระชนม์ได้เจ็ดพรรษานั้นเลี้ยงไว้ สมเด็จพระยอดฟ้าอยู่ในราชสมบัติปีกับสองเดือน”
     
       ขุนวรวงศาครองราชย์อยู่ได้เพียง ๔๒ วัน กรรมก็ตามทัน เหล่าขุนนางที่จงรักภักดีต่อแผ่นดิน ได้ร่วมกันวางแผนสังหารพร้อมทั้งเจ้าแม่อยู่หัวศรีสุดาจันทร์และบุตรที่เกิดจากขุนวรวงศา
     
       หลังสิ้นแผ่นดินสมเด็จพระยอดฟ้าแล้ว กรุงศรีอยุธยาก็ว่างเว้นยุวกษัตริย์เกือบ ๑๐๐ ปี จนในปี ๒๑๗๑ จึงมียุวกษัตริย์องค์ที่ ๔ คือ สมเด็จพระเชษฐาธิราช ขึ้นครองราชย์เมื่อพระชนมายุ ๑๔ พรรษา ในวัยเดียวกับพระเจ้าทองลัน ส่วนยุวกษัตริย์องค์ที่ ๕ ก็คือ สมเด็จพระอาทิตย์วงศ์ ซึ่งถูกยกขึ้นเป็นกษัตริย์ขณะพระชนม์เพียง ๙ พรรษา ก็ไม่พ้นชะตากรรมยุวกษัตริย์อีกเช่นกัน ซึ่งผู้ที่กำจัดยุวกษัตริย์ ๒ รายหลังนี้ก็คือ สมเด็จพระเจ้าปราสาททอง โอรสลับของสมเด็จพระเอกาทศรถที่เกิดจากผู้หญิงชาวบ้านเกาะบางปะอิน ซึ่งไม่มีสิทธิ์ในราชบัลลังก์ แต่ก็เพราะความเด็ดขาดเข้มแข็งจึงไต่เต้าขึ้นสู่ราชบัลลังก์ได้ และครองราชย์อย่างยาวนานถึง ๒๕ ปี โดยปราศจากศัตรูทั้งภายนอกภายใน แม้พม่าข้าศึกก็ยังไม่กล้ามาระราน
     
       การครองราชย์ ก็คือการครองอำนาจในการเป็นผู้นำประเทศ สมควรที่จะเป็นผู้เข้มแข็งที่สุด ในยุคกรุงศรีอยุธยาที่ประชาชนเป็นเพียงข้าแผ่นดิน ไม่มีสิทธิ์ไม่มีเสียงและไม่มีพลังทางการเมือง จึงไม่อาจคุ้มครองความชอบธรรมใดๆได้ ยุวกษัตริย์ผู้ยังอ่อนแอจึงไม่เหลือรอดแม้แต่พระองค์เดียว

ผู้เข้มแข็งเท่านั้นที่จะได้ครองอำนาจ!๕ ยุวกษัตริย์กรุงศรีอยุธยา ถูกผู้ใหญ่ฆ่าเรียบ!!

ผู้เข้มแข็งเท่านั้นที่จะได้ครองอำนาจ!๕ ยุวกษัตริย์กรุงศรีอยุธยา ถูกผู้ใหญ่ฆ่าเรียบ!!

ผู้เข้มแข็งเท่านั้นที่จะได้ครองอำนาจ!๕ ยุวกษัตริย์กรุงศรีอยุธยา ถูกผู้ใหญ่ฆ่าเรียบ!!

ผู้เข้มแข็งเท่านั้นที่จะได้ครองอำนาจ!๕ ยุวกษัตริย์กรุงศรีอยุธยา ถูกผู้ใหญ่ฆ่าเรียบ!!

ผู้เข้มแข็งเท่านั้นที่จะได้ครองอำนาจ!๕ ยุวกษัตริย์กรุงศรีอยุธยา ถูกผู้ใหญ่ฆ่าเรียบ!!

พัฒนาการกรุงรัตนโกสินทร์

พัฒนาการกรุงรัตนโกสินทร์
พัฒนาการ รัตนโกสินทร์ ตอนที่ 01

พัฒนาการ รัตนโกสินทร์ ตอนที่ 02

พัฒนาการ รัตนโกสินทร์ ตอนที่ 03

พัฒนาการ รัตนโกสินทร์ ตอนที่ 04
พัฒนาการ รัตนโกสินทร์ ตอนที่ 05
พัฒนาการ รัตนโกสินทร์ ตอนที่ 06
พัฒนาการ รัตนโกสินทร์ ตอนที่ 07
พัฒนาการ รัตนโกสินทร์ ตอนที่ 08
พัฒนาการ รัตนโกสินทร์ ตอนที่ 09
พัฒนาการ รัตนโกสินทร์ ตอนที่ 10

พัฒนาการ รัตนโกสินทร์ ตอนที่ 11
พัฒนาการ รัตนโกสินทร์ ตอนที่ 12
พัฒนาการ รัตนโกสินทร์ ตอนที่ 13
พัฒนาการ รัตนโกสินทร์ ตอนที่ 14
พัฒนาการ รัตนโกสินทร์ ตอนที่ 15
พัฒนาการ รัตนโกสินทร์ ตอนที่ 16
พัฒนาการ รัตนโกสินทร์ ตอนที่ 17

พัฒนาการ รัตนโกสินทร์ ตอนที่ 18

วีดีโอพัฒนาการสมัยอยุธยา

วีดีโอพัฒนาการสมัยอยุธยา ตอน 01

วีดีโอพัฒนาการสมัยอยุธยา ตอน 02


วีดีโอพัฒนาการสมัยอยุธยา ตอน 03

วีดีโอพัฒนาการสมัยอยุธยา ตอน 04

วีดีโอพัฒนาการสมัยอยุธยา ตอน 05

วีดีโอพัฒนาการสมัยอยุธยา ตอน 06

วีดีโอพัฒนาการสมัยอยุธยา ตอน 07
วีดีโอพัฒนาการสมัยอยุธยา ตอน 08
วีดีโอพัฒนาการสมัยอยุธยา ตอน 09
วีดีโอพัฒนาการสมัยอยุธยา ตอน 10
วีดีโอพัฒนาการสมัยอยุธยา ตอน 11
วีดีโอพัฒนาการสมัยอยุธยา ตอน 12
วีดีโอพัฒนาการสมัยอยุธยา ตอน 13
วีดีโอพัฒนาการสมัยอยุธยา ตอน 14
วีดีโอพัฒนาการสมัยอยุธยา ตอน 15

วีดีโอ การนับศักราช การแบ่งยุคสมัย

การนับศักราช การแบ่งยุคสมัย ตอน 1




การนับศักราช การแบ่งยุคสมัย ตอน 2

การนับศักราช การแบ่งยุคสมัย ตอน 3

การนับศักราช การแบ่งยุคสมัย ตอน 4

การนับศักราช การแบ่งยุคสมัย ตอน 5

การนับศักราช การแบ่งยุคสมัย ตอน 6

การนับศักราช การแบ่งยุคสมัย ตอน 7

การนับศักราช การแบ่งยุคสมัย ตอน 8

การนับศักราช การแบ่งยุคสมัย ตอน 9

การนับศักราช การแบ่งยุคสมัย ตอน 10





วันอังคารที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2559

ตอนที่ ๕ รถและยานพาหนะทั่วไปของชาวสยาม



มองสยามประเทศ ปี พ.ศ ๒๒๓๐ ผ่านจดหมายเหตุ ลา ลูแบร์
ตอนที่ ๕ รถและยานพาหนะทั่วไปของชาวสยาม
  • ๑. สัตว์เลี้ยงใช้งาน นอกจากวัวควายแล้วยังมีช้างซึ่งใช้เป็นสัตว์พาหนะ การล่าช้างเปิดเสรีแก่ทุกคน งานธรรมดาใช้ช้างพัง ช้างพลายใช้ออกศึก เมืองสยามไม่เหมาะกับการเลี้ยงม้า ไม่มีลาและล่อ แต่ชาวมัวร์บางคนที่มาอยู่ในเมืองสยามมีอูฐไว้ใช้โดยส่งเข้ามาจากที่อื่น
  • ๒. ม้าพระที่นั่งของพระเจ้ากรุงสยาม โปรดให้เลี้ยงม้าไว้ ๒,๐๐๐ ตัว มีม้าจากเปอร์เซียราวโหลตัว แต่เสื่อมพันธุ์หมดแล้ว เป็นอภินันทนาการจากพระเจ้ากรุงเปอร์เซีย โดยอัครราชทูตเปอร์เซียมาน้อมเกล้าฯ ถวาย ธรรมดาจะส่งทรงเจ้าพนักงานไปหาซื้อม้าที่เมืองปัตตาเวีย ซึ่งเป็นม้าพันธุ์เล็กเปรียวพอใช้ แต่มีพยศจัด
  • ๓. ทหารม้าและทหารราบที่เมืองปัตตาเวีย กองพันทหารที่เมืองปัตตาเวียเป็นหน่วยทหารราบ มีคนชาติฝรั่งเศสรวมอยู่หลายคน หน่วยทหารม้ามีแต่ชาวเมืองที่เป็นชนชั้นกลาง
  • ๔. พระเจ้ากรุงสยามไม่ค่อยได้ทรงม้า เมื่อเราไปถึง (เมืองปัตตาเวีย) มีคนสยามสองนายไปหาซื้อม้า ๒๐๐ ตัว สำหรับพระมหากษัตริย์ และได้ส่งไปที่กรุงสยามแล้ว ๑๕๐ ตัว ทั้งนี้ใช่ว่าพระองค์จะโปรดม้า อาจรู้สึกว่าเตี้ยเกินไป ส่วนช้างเห็นว่าเหมาะแก่การรบมาก
  • ๕. ช้างพระที่นั่งประจำซองในวังหลวง มีอยู่เชือกหนึ่งประจำอยู่เสมอพร้อมใช้ขับขี่ได้ทุกขณะ และไม่มีม้าพระที่นั่งยืนโรงอยู่เลย
  • ๖. ไม่มีใครเคยเห็นพระเจ้ากรุงสยามเสด็จ ฯ เสมอระดับพื้นดินเลย ในวังหลวงตรงที่ตั้งโรงช้างมีเกยเล็กๆ ตั้งอยู่เพื่อพระเจ้าอยู่หัวทรงช้างได้สะดวก หากจะเสด็จโดยพระราชยานคานหาม ก็จะเสด็จมาประทับพระราชยาน ซึ่งเทียบรอรับเสด็จอยู่ในระดับสูงทางช่องพระบัญชร หรือไม่ก็ทางพระเฉลียง
  • ๗. พระราชยานคานหามเสลี่ยงเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส และพื้นนั่งแบนราบยกสูงขึ้นไปมากบ้างน้อยบ้างเอาตัวขึ้น และตรึงไว้ให้แนบกับคานหาม ใช้คนสี่หรือแปดคน บางทีที่นั่งก็มีพนัก และเท้าแขนเหมือนเก้าอี้ บางทีก็มีเพียงลูกกรงสูงประมาณครึ่งฟุตล้อม เว้นช่องไว้ด้านหน้า แต่คนสยามมักนั่งขัดสมาธิ บางทียานนี้ก็โถง บางทีก็มีประทุนซึ่งมีอยู่หลายแบบ
  • ๘. ยานมีหลังคาไม่มีเกียรติเสมอเครื่องสูง ได้เห็นพระเจ้ากรุงสยามประทับช้างพระที่นั่งไม่มีหลังคา เป็นพระที่นั่งโถง ทางด้านหน้า ด้านข้าง และด้านหลังมีเครื่องสูงรูปเหมือนใบไม้ใหญ่ ๆ หรือช่อนนภทาทองรวมสามชิ้น ปลายงอนออกมาทางด้านนอกเล็กน้อย ตั้งอยู่เสมอพระอังสะ เมื่อพระเจ้าอยู่หัวเสด็จหยุด เจ้าพนักงานจะเชิญบังสูรย์คันยาวรูปร่างเหมือนหอกใบพายมากั้นแสงแดดให้ ตัวใบหอก กว้าง ๓ - ๔ ฟุต เรียกว่าพัดโบก (ที่จริงคือบังสูรย์)
  • ๙. ชาวสยามขี่ช้างกันอย่างไร จะขี่คร่อมคอเหมือนคอม้า แต่ไม่มีเครื่องอานบังเหียนแต่อย่างใด ถือแต่ขอทำด้วยเหล็กหรือเงิน ใช้สำหรับสับที่หัวช้างทางซีกขวาบ้าง หรือตรงกลางตะบองหน้าผาก พร้อมกับร้องบอกช้างว่าควรจะไปทางไหน หรือว่าให้หยุด เมื่อไม่ขี่ด้วยตนเองก็ขึ้นนั่งลูบหลังช้าง แล้วมีคนขับนำช้างที่คอช้าง บางทีก็มีอีกคนหนึ่งนั่งท้ายช้างไปด้วย เรียกควาญท้ายช้างว่าหัวสิบ คือนายสิบ หรือผู้คุมคน ๑๐ คน คนที่นั่งคอช้างเรียกว่านายช้าง เป็นผู้บังคับบัญชาบรรดาคนที่ดูแลช้างทั้งหมด
  • ๑๐. ยานพาหนะเรือยาว คนในเมืองนี้เดินทางเรือมากกว่าทางบก พระเจ้ากรุงสยามมีเรือยาวพระที่นั่งอย่างงดงามไว้เป็นอันมาก ลำเรือทำจากซุงท่อนเดียว บางลำยาว ๑๖ - ๒๐ วา คนสองคนนั่งขัดสมาธิเดียวขนานกันไปบนกระทงเรือ พอต็มพื้นที่ด้านกว้างของเรือพอดี คนหนึ่งพายทางกราบขวา อีกคนพายทางกราบซ้าย คนถือท้ายหันหน้าไปทางหัวเรือ ฝีพายหันหลังให้หัวเรือ
  • ๑๑.รูปร่างที่ถูกต้องของเรือยาว เรือยาวลำหนึ่ง บางทีมีฝีพาย ๑๐๐ - ๑๒๐ คน นั่งขัดสมาธิเรียงคู่กันไปบนแผ่นกระดาน ขุนนางชั้นผู้น้อยมีเรือขนาดสั้นกว่า และมีฝีพายน้อยลงเพียง ๑๖ - ๒๐ คน พวกฝีพายจะร้องเพลง หรือออกเสียงให้จังหวะ เพื่อให้พายพร้อมกัน ดูสง่างามมาก เรือแล่นฉิวน่าดูนัก หัวเรือและท้ายเรือสูงมาก รูปร่างเหมือนคอและหางนาค หรือปลาขนาดมหึมาชนิดใดชนิดหนึ่ง ใบพายทั้งสองกราบดูคล้ายปีกหรือครีบ ตรงหัวเรือมีฝีพายอยู่คนเดียวที่แถวหน้า ขาซ้ายกับขาขวาทั้งสองข้างจำเป็นต้องเหยียดขาข้างหนึ่งออกไปนอกลำเรือ เอาเท้ายื่นไม้ขวางหัวเรือไว้ คนชักหัวเรือฝีพายต้นนี้เป็นผู้ให้จังหวะแก่ฝีพายทั้งลำ พายของเขาเบากว่าของคนอื่นๆเล็กน้อย เพราะนั่งอยู่ตรงหัวเรือที่เชิดสูงขึ้น ฝีพายจ้ำพายลงทุกครั้งที่ให้จังหวะ ถ้าต้องการให้ไปเร็วขึ้นก็จ้ำสองครั้งนานๆ ที นายท้ายยืนอยู่ท้ายเรือตลอดเวลา ท้ายเรือเชิดสูงไปมาก หางเสือนั้นเป็นพายขนาดยาวมิได้ขันติดอยู่กับเรือ เขาจะกดพายดิ่งลงไปในน้ำแนบกับกราบเรือ ทางขวาบ้างทางซ้ายบ้าง นางทาสีทำหน้าที่เป็นฝีพายประจำเรือท่านผู้หญิง
  • ๑๒. เรือชนิดต่างๆ เรือที่ใช้กันตามธรรมดา มีผู้พายน้อยคน ที่กลางลำมีประทุนจัดแตะด้วยไม้ไผ่หรือเก้งไม้อย่างอื่น ไม่ทาสีหรือทาน้ำมันชักเงาแต่อย่างใด ภายในอยู่ได้ทั้งครอบครัว บางทีประทุนก็มีกันสาดยื่นออกไปข้างหน้า สำหรับเป็นที่อยู่อาศัยของพวกทาส ชาวสยามเป็นอันมากอยู่แต่ในเรือ ในเรือยาวสำหรับพระราชพิธี หรือเรือพระที่นั่งต้น หรือเรือหลวง ตรงกลางลำมีที่นั่งที่เดียว กินพื้นที่เกือบเต็มความกว้างของลำเรือ ที่นั่งสำหรับคนเดียวกับสาตราวุธ ถ้าเป็นขุนนางธรรมดาก็มีร่มธรรมดาคันเดียว ถ้าเป็นขุนนางชั้นผู้ใหญ่ขึ้นไปนอกจากที่นั่งบจะสูงขึ้นแล้วยังมีหลังคาเรียกว่ากูบ เป็นซุ้มที่นั่งทึบ เปิดด้านหน้าและด้านหลัง ทำด้วยไม้ไผ่จักและสานทาด้วยรักสีดำหรือสีแดง ทั้งภายนอกและภายใน
  • รักสีแดงสำหรับขุนนางฝ่ายขวา รักสีดำสำหรับขุนนางฝ่ายซ้าย ขอบกูบปิดทองด้านนอกเป็นแถบกว้าง ๓ - ๔ นิ้วฟุต อ้างกันว่าการทาแถบทอง โดยวาดเป็นลวดลายประดับนั้น เป็นเครื่องหมายแสดงยศศักดิ์ของขุนนาง รูปกูบบางอันก็ใช้หุ้มด้วยผ้า แต่ไม่ได้ใช้ในฤดูฝน ถ้าพระเจ้าอยู่หัวเสด็จผ่านไป ขุนนางจะลงจากที่นั่งลงสู่พื้น และหมอบกราบบังคม บรรดาคนในเรือก็หมอบทั้งสิ้น จะเดินทางต่อไปได้ก็ต่อเมื่อพระเจ้าอยู่หัว เสด็จลับสายตาไปแล้วเท่านั้น
  • ๑๓. เรือหลวง หลังคาเครื่องยอดของขบวนเรือหลวงนั้นปิดทองทั่ว พายก็ปิดทอง หลังคามีเสารับและประดับด้วยลวดลายจำหลัก เป็นลายกระจังอย่างวิจิตร หลังคาบางหลังมีสันสาดบังแสงแดด เรือหลวงต้นลำที่พระเจ้าอยู่หัวทรงนั้น มีกรรมการหรือเจ้าพนักงานสี่นายเป็นผู้บังคับฝีพายทั้งลำ อยู่ข้างหน้าสองคน ข้างหลังสองคน นั่งขัดสมาธิ
  • ๑๔. ความเร็วของเรือยาว เรือแล่นได้เร็ว แม้จะทวนน้ำ และเมื่อหมู่เรือยาวแล่นไปพร้อมๆ กันก็น่าดูมาก
  • ๑๕. เมื่อคณะอัครราชทูตพิเศษเข้าสู่พระนครทางชลมารค เขาสารภาพว่าเมื่อคณะอัครราชทูตฝรั่งเศส เคลื่อนสู่ลำแม่น้ำ ความสง่างามของริ้วขบวนแห่แหน ลำน้ำกว้างพอดู แม้จะคดเคี้ยวแต่ก็มีร่องกลางน้ำใหญ่ พอที่เรือจะผ่านได้สะดวก สองฝั่งแม่น้ำมีสวนผลไม้ เขียวชะอุ่มต่อกันไม่ขาดระยะ มีผู้คนเกือบ ๓,๐๐๐ คน ในเรือยาว ๗๐ - ๘๐ ลำ มาร่วมขบวนแห่ ลอยลำขนาบไปเป็นสองแถว เสียงกึกก้องแต่ไพเราะด้วยเสียงเห่ เสียงโห่ เสียงกระจับปี่สีซอ
  • ๑๖. ความสง่างามแต่โบราณของราชสำนักสยาม มีผู้ยืนยันว่าที่กรุงสยามนั้น (แต่ครั้งบ้านเมืองดี) ราชสำนักสง่างามรุ่งเรืองยิ่ง พระราชวงศ์ข้าทูลละอองธุลีพระบาทล้วนแต่งกายด้วยเสื้อราคาแพง ประดับอัญมณีแพรวพราว และข้าทาสบริวารติดตาม ๑๐๐ - ๒๐๐ คน ใช้ช้างเป็นพาหนะก็มาก แต่บัดนี้ไม่เป็นเช่นนั้นแล้วนับแต่พระราชบิดาของพระเจ้าอยู่หัวองค์ปัจจุบันได้ทรงพิฆาตเจ้านาย ขุนนางชั้นผู้ใหญ่ เสียแทบไม่เหลือ ปัจจุบันมีเจ้านายอยู่ ๓ - ๔ องค์เท่านั้น ที่ได้รับพระบรมราชานุญาตให้ใช้ยวดยานคานหาม ส่วนชาวยุโรปที่อยู่ในกรุงสยามยังได้รับอนุญาตให้ใช้ได้อยู่
  • ๑๗. ร่มกันแดด ใช้ได้แต่ไม่ทั่วไปในบรรดาไพร่ฟ้าข้าแผ่นดิน อนุญาตให้ชาวยุโรปใช้ได้ทุกคน เป็นร่มชั้นเดียว เป็นเครื่องแสดงเกียรติอย่างต่ำ ซึ่งพวกขุนนางส่วนมากใช้กันอยู่ ร่มที่มีหลายชั้นในก้านเดียวกัน ใช้ได้เฉพาะพระเจ้าอยู่หัวเท่านั้น ร่มที่เรียกว่า กลดมีตัวร่มชั้นเดียวแต่ติดระบายมีลวดลายรอบ ๒ - ๓ ชั้น เลื่อนกันลงมาเป็นร่มที่พระเจ้ากรุงสยามถวายแด่พระสังฆราช หรือพระสังฆนายก ร่มที่พระราชทานแด่คณะอัครราชทูตพิเศษ ก็เป็นอย่างเดียวกันนี้มีระบายสามชั้น
  • ๑๘. ร่มของพระสงฆ์และที่มาของคำว่าตาละปวง พระสงฆ์ใช้ร่มเป็นแผงซึ่งถือติดมือไปไหนมาไหน ทำด้วยใบลานเจียนเป็นรูปกลมและจีบ ปลายจีบร้อยด้วยลวดมามัดไว้ที่ใกล้ก้าน ก้านดัดเป็นด้ามถือเรียกว่า "ตาลปัตร" นามพระสงฆ์เรียกกันว่า "เจ้ากู"
  • ๑๙. ช้างกับเรือ อนุญาตให้ราษฎรใช้ได้ทั่วไป
  • ๒๐. พระเจ้ากรุงสยามแสดงพระองค์เมื่อใดและอย่างใด ตามโบราณราชประเพณีแห่งราชสำนักกำหนดให้ปรากฏ พระองค์ให้ไพร่ฟ้าประชาราษฎร เฝ้าถวายบังคมเพียงปีละ ๕ - ๖ วันเท่านั้น และประกอบเป็นพระราชพิธีใหญ่ สมัยก่อนพระเจ้ากรุงสยามเสด็จออกทรงทำพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญทุกปี ต่อมาได้ทรงมอบให้ออกญาข้าว พระเจ้าอยู่หัวเสด็จออกในวันพระราชพิธีทางชลมารค เพื่อให้พระแม่คงคาไหลคืนลงสู่ท้องน้ำในยามฤดูกาลเพาะปลูก พระเจ้าอยู่หัวองค์ปัจจุบันเป็นพระองค์แรกที่ทรงเลิกพิธีนี้เสีย
  • แฟร์นังค์ เมนเดช ปินโต เล่าว่าในสมัยของเขา พระเจ้ากรุงสยามเคยเสด็จออกวันหนึ่งในปีหนึ่ง โดยประทับบนหลังพระเศวตคชาธาร เสด็จไปบนถนนเก้าสายในพระนคร และพระราชทานข้าวของเป็นอันมากแก่พสกนิกร บัดนี้เลิกไปแล้ว พระเจ้าอยู่หัวเสด็จออกแสดงพระองค์ต่อพสกนิกร ในพระนครเพียงปีละสองครั้งคือ ตอนต้นเดือนหก และเดือนสิบสองเพื่อไปถวายนิตยภัต ผ้าไตรจีวร และผลหมากรากไม้แด่พระสงฆ์ในวัดสำคัญๆ ในวันสำคัญทางศาสนา พระองค์ประทับช้างพระที่นั่งไปสู่อารามต่างๆ แล้วเสด็จทางชลมารคไปสู่อารามอีกแห่งหนึ่ง อยู่ห่างจากพระนครไปทางใต้ประมาณ ๒ ลี้
  • ๒๑. พระเจ้ากรุงสยามไว้พระเกียรติที่เมืองละโว้น้อยกว่าที่อยุธยา ที่เมืองละโว้ พระองค์เสด็จประพาสไปในที่ต่างๆ ได้บ่อย เช่น ล่าเสือ หรือโพนช้าง เมื่อเสด็จไปพระตำหนักน้อยที่ทะเลชุบศร พร้อมฝ่ายในโดยพระบาท
  • ๒๒. ขบวนแห่เสด็จฯ ของพระเจ้ากรุงสยาม ขบวนแห่เสด็จฯ โดยเสด็จทั้ง ๒๐๐ - ๓๐๐ คน ทั้งเดินเท้าและขี่ม้า ขบวนหน้ามีพลเดินเท้าถือพลอง หรือหลอดไม้ซางสำหรับเป่าเมล็ดถั่วนำไปเป็นเหล่าๆ เพื่อไล่คนให้พ้นทางเสด็จฯ โดยเฉพาะเมื่อขบวนพระสนมจะโดยเสด็จผ่านไป และก่อนจะถึงเวลาเสด็จฯ ก็มีการประกาศเตือนชาวยุโรปที่เพิ่งเข้ามาสู่เมืองสยามมิให้ตัดหน้าฉาน ผู้ทำหน้าที่นำเสด็จฯ เรียกว่านครบาล และแขวง นครบาลรักษาสถลมารคทางเบื้องขวา แขวงรักษาทางเบื้องซ้าย แขวงเป็นตำแหน่งเจ้ากรมพระตำรวจ มีเจ้าพนักงานตำรวจ ๑ นายในเหล่าอาสาเขมร และลาวขี่ม้าแซงสองข้างทาง ห่างจากราชพาหนะ ๕๐ - ๖๐ ก้าว เหล่าข้าราชบริพารนำเสด็จฯ ถึงจุดหมายปลายทางก่อนหรือบางครั้งก็เดินตามเสด็จโดยพนมมือแค่อกไปตลอดทาง บางทีขี่ม้า บางทีขี่ช้างตามเสด็จฯ ไป เมื่อพระเจ้าอยู่หัวหยุดราชพาหนะ เหล่าเดินเท้าจะทรุดลงหมอบเข่าและศอกจรดดิน ส่วนเหล่าม้า และเหล่าช้าง จะหมอบกราบอยู่บนหลังสัตว์พาหนะที่ขี่อยู่ เจ้าพนักงานที่เรียกว่าชาวหมู่ เดินเท้าตามเสด็จฯ เป็นเหล่ามหาดเล็กเด็กชา บางคนก็เชิญพระแสงศาตราวุธ บางคนก็เชิญหีบพระศรี
  • ๒๓. การเคารพต่อองค์พระมหากษัตริย์อย่างแปลกๆ
ตอนที่ ๑ เครื่องนุ่งห่ม และรูปร่างหน้าตาของชาวสยามhttps://www.facebook.com/Signnagas/posts/731437163639848:0
ตอนที่ ๒ บ้านเรือนของชาวสยาม และฝีมือการก่อสร้าง
https://www.facebook.com/Signnagas/posts/732067013576863:0
ตอนที่ ๓ เครื่องเรือนของชาวสยาม
https://www.facebook.com/Signnagas/posts/733326163450948:0
ตอนที่ ๔ สำรับกับข้าวของชาวสยาม
https://www.facebook.com/Signnagas/posts/734108796706018:0
ตอนที่ ๕ รถและยานพาหนะทั่วไปของชาวสยาม
https://www.facebook.com/Signnagas/posts/735225446594353:0ok.com/Signnagas/posts/734108796706018:0
หมายเหตุ
  • - มองซิเออร์ เดอ ลาลูแบร์ได้ออกเดินทางจากท่าเรือเมือง เบรสต์ เมื่อวันที่ ๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๒๓๐ มาทอดสมอที่กรุงสยาม เมื่อวันที่ ๒๗ กันยายน พ.ศ. ๒๒๓๐ เดินทางกลับเมื่อวันที่ ๓ มกราคม พ.ศ. ๒๒๓๑ ขึ้นบกที่ท่าเรือเมืองเบรสต์ เมื่อวันที่ ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๒๓๑
  • ความมุ่งหมายในการเขียน เพ่งเล็งในด้านอาณาเขต ความอุดมสมบูรณ์ คุณภาพของดินในการกสิกรรม ภูมิอากาศเป็นประการแรก ต่อมาเป็นขนบธรรมเนียมประเพณีโดยทั่ว ๆ ไป และเฉพาะเรื่องเฉพาะราย เรื่องเกี่ยวกับรัฐบาล และศาสนาจะกล่าวในตอนท้าย และได้รวบรวมบันทึกความทรงจำ เกี่ยวกับประเทศนี้ ที่เขาได้นำติดตัวมาด้วยไปผนวกไว้ตอนท้าย และเพื่อให้ผู้อ่านได้รู้จักชาวสยามโดยแจ่มชัด จึงได้เอาความรู้เกี่ยวกับอินเดีย และจีนหลายประการมาประกอบด้วย นอกจากนั้นยังได้แถลงว่าจะต้องสืบเสาะให้รู้เรื่องราว พิจารณาสอบถาม ศึกษาให้ถึงแก่นเท่าที่จะทำได้ ก่อนเดินทางไปถึงประเทศสยาม ได้อ่านจดหมายเหตุทั้งเก่าและใหม่ บรรดาที่มีผู้เขียนขึ้นไว้เกี่ยวกับประเทศต่าง ๆ ในภาคพื้นตะวันออก ถ้าไม่มีสิ่งดังกล่าว เขาอาจใช้เวลาสักสามปี ก็คงไม่ได้ข้อสังเกต และรู้จักประเทศสยามดี
  • ทำอย่างไรถึงจะได้รับข้อความที่ทางเพจโพสทุกครั้ง ... กดคำว่า “ถูกใจ” แล้ว ใต้ “ภาพหน้าปก” จะมีคำว่า “รับการแจ้งเตือน” ให้กดที่คำนี้ จนเห็นเครื่องหมาย ‘ถูก’ ปรากฎขึ้น เพียงเท่านี้ คุณก็จะไม่พลาดข้อความดีๆอีกต่อไป
  • fb: นิทรรศการพลังแผ่นดิน
  • อัศจรรย์งานศิลป์ แผ่นดินสยาม
  • https://www.facebook.com/Signnagas

ตอนที่ ๔ สำรับกับข้าวของชาวสยาม


มองสยามประเทศ ปี พ.ศ ๒๒๓๐ ผ่านจดหมายเหตุ ลา ลูแบร์
ตอนที่ ๔ สำรับกับข้าวของชาวสยาม
  • ๑. ชาวสยามกินอาหารน้อย และอาหารของเขามีอะไรบ้าง สำรับกับข้าวของชาวสยามไม่สู้ฟุ้มเฟือยนัก เนื่องด้วยมีฤดูร้อนติดต่อกันอยู่ตลอดเวลา อาหารหลักคือ ข้าวกับปลา ทะเลได้ให้หอยนางรม ตัวเล็กๆ มีรสชาดดีมาก เต่าขนาดย่อมเนื้อรสดี กุ้งทุกขนาด ปลาเนื้อดีอีกมาก แม่น้ำสมบูรณ์ด้วยปลา ส่วนใหญ่เป็นปลาไหลตัวงามๆ แต่ชาวสยามไม่สู้นิยมกินปลาสด
  • ๒. ความประหลาดของปลาสองชนิด มีปลาน้ำจืดอยู่สองชนิดเรียกว่าปลาอุต และปลากระดี่ เมื่อจับปลาได้แล้ว นำมาหมักเกลือใส่รวมไว้ในตุ่ม หรือไหดินเผาดองไว้ ปลาจะเน่าในไม่ช้า
  • ๓. การหมักเค็มของชาวสยาม พวกเขาชอบบริโภคของที่หมักเค็มไว้ยังไม่ได้ที่ และปลาแห้งยิ่งกว่าปลาสด ธรรมชาติคงจะแต่งให้ชาวสยามกินอาหารประเภทที่ย่อยง่าย
  • ๔. ชาวสยามคนหนึ่งกินวันละเท่าใด เขาจะอิ่มด้วยข้าววันละ ๑ ปอนด์ ราคาประมาณ ๑ ลิอาร์ด และมีปลาแห้งอีกเล็กน้อย หรือไม่ก็ปลาเค็ม ซึ่งไม่แพงกว่าข้าวนัก เหล้าโรงหรือเหล้าที่ทำจากข้าว ขนาด ๑ ไปน์ ตกประมาณ ๒ ซู ก็พอแล้ว ฉะนั้นจึงไม่สงสัยว่าทำไมชาวสยามจึงไม่สู้ สนใจกับการทำมาหากินนัก พอตกค่ำก็ได้ยินแต่เสียงร้องรำทำเพลงไปทั่วทุกบ้านเรือน
  • ๕. น้ำจิ้มของชาวสยาม ทำกันอย่าง่ายๆ ใช้น้ำนิดหน่อยกับเครื่องเทศ กระเทียม หัวหอมกับผักบางชนิด เช่น กะเพรา พวกเขาชอบกินน้ำจิ้มเหลวชนิดหนึ่ง คล้ายกับมัสตาร์ด ประกอบด้วยกุ้งเคยเน่า เรียกว่า กะปิ
  • ๖. ชาวสยามทาตัวเด็กให้เป็นสีเหลือง สิ่งที่เขาให้แทนหญ้าฝรั่น เป็นหัวไม้ชนิดหนึ่งมีรสและสีอย่างเดียวกัน เมื่อตากให้แห้ง และป่นให้เป็นผงแล้ว เหง้าชนิดนี้เขาเห็นว่าเป็นการรักษาสุขภาพให้เด็ก
  • ๗. ชาวสยามบริโภคน้ำมันอะไร เขาไม่มีน้ำมันผลนัต น้ำมันผลมะกอก หรือน้ำมันอย่างอื่น นอกจากน้ำมันผลมะพร้าว ใช้บริโภคได้ดีเมื่อเคี่ยวออกมาใหม่ๆ ถ้าทิ้งไว้นานจะมีกลิ่นหืน
  • ๘. เรื่องที่เขียน (ผู้อ่าน) ต้องเข้าใจความนึกคิดของผู้แต่ง
  • ๙. ข้อคิดอีกประการหนึ่งเกี่ยวกับเรื่องเดียวกันนี้
  • ๑๐. ข้อคิดอีกประการหนึ่งเกี่ยวกับเรื่องเดียวกันนี้
  • ๑๑. น้ำนมที่กรุงสยาม เขามีน้ำนมจากควาย ซึ่งมีครีมมากกว่านมวัว
  • ๑๒. การแต่งกับข้าวชาวสยามใช้ปลาแห้งแต่งเป็นกับข้าวได้หลายรูปแบบ
  • ๑๓. อาหารจีนกับข้าวมากกว่า ๓๐ ชนิด ตามตำรับจีนที่นำมาเลี้ยงนั้น เขาไม่อาจกินได้สักอย่างเดียว
  • ๑๔. ชาวสยามไม่ชอบกินเนื้อสัตว์และไม่มีโรงฆ่าสัตว์ จะกินบ้างแต่ลำใส้และเครื่องใน ในตลาดมีตัวแมลงต่างๆ ปิ้ง ย่างวางขายอยู่ พระเจ้ากรุงสยามพระราชทานเป็ด ไก่ และสัตว์อื่นที่ยังเป็นๆ อยู่ให้เราต้องมาทำอาหารเอง เนื้อสัตว์ทุกชนิดเหนียว ไม่ค่อยฉ่ำและย่อยยากในที่สุดชาวยุโรปที่เข้ามาอยู่ในเมืองสยาม ก็ค่อยๆ เว้นกินเนื้อสัตว์
  • ๑๕. เป็ด ไก่ ชาวสยามไม่สนใจตอนไก่ เขามีแม่ไก่อยู่สองพันธุ์ พันธุ์หนึ่งเหมือนๆกับเรา อีกพันธุ์หนึ่งมีหนังและหงอนสีดำ แต่เนื้อและกระดูกขาว ส่วนเป็ดมีอยู่มาก และรสดีมาก
  • ๑๖.ทนก ชาวสยามบริโภคนก ซึ่งมีขนสีต่างๆ
  • ๑๗. สัตว์ที่เป็นเหยื่อล่าในป่า เขาไม่นิยมฆ่า หรือจับเอาตัวมากักขังไว้ พวกแขกมัวร์ชอบเลี้ยงเหยี่ยวไว้จับนกอื่น
  • ๑๘. นกพันธุ์แปลกๆ ในสยาม นกแทบทุกชนิดในสยามมีสีสันงามตามาก และขันได้ไพเราะมีอยู่หลายพันธุ์ พูดเลียนเสียงมนุษย์ได้ กากับแร้ง มีชุมและเชื่องมาก เพราะไม่มีใครทำอันตราย คนให้อาหารมันกิน
  • ๑๙. สิ่งที่เราเรียกว่าเนื้อสัตว์ไม่มีราคาในสยาม แพะกับแกะหาได้ยาก ตัวเล็กเนื้อไม่สู้ดีนัก หาซื้อได้จากชาวมัวร์เท่านั้น พระเจ้ากรุงสยามให้เลี้ยงแพะ แกะไว้จำนวนหนึ่งสำหรับพระองค์เอง ส่วนวัวกับควายผู้นั้น เขาเลี้ยงไว้ใช้ไถนา และขายแม่วัวเสีย
  • ๒๐. หมูเป็นของดีหมูนั้นตัวเล็ก และมีมันมากจนไม่น่ากิน
  • ๒๑. ราคาเนื้อสัตว์ แม่วัวราคาตามหัวเมืองไม่เกิน ๑๐ ซอลในพระนครตัวละ ๑๐ เอกิว แกะตัวละ ๔ เอกิว แพะตัวละ ๒ - ๓ เอกิว หมูตัวละ ๗ ซอล เพราะพวกมัวร์ไม่กินหมู ไก่ตัวเมียโหลละ ๒๐ ซอล เป็ดโหลละ ๑ เอกิว
  • ๒๒. สัตว์ปีกขยายพันธุ์มากในกรุงสยาม สัตว์จำพวก กวาง เก้ง มีชุม ชาวสยามฆ่ากวาง หรือสัตว์จำพวกนี้เพียงเพื่อถลกหนังเอาไปขาย ให้พวกฮอลันดาซึ่งกว้านซื้อไปขายเป็นสินค้าสำคัญในญี่ปุ่น
  • ๒๓. โรคภัยไข้เจ็บ ต้องตำหนิการดื่ม (สุรา) น้อยของชาวสยามแต่เมื่อเทียบส่วนสมดุล กับไฟธาตุของเขาแล้ว ก็พออนุมานว่าเขาไม่ได้ดื่มน้อยกว่าพวกเราเลย เขามีอายุไม่ยืนนัก โรคที่เป็นกันมากคือ โรคป่วงและโรคบิด บางทีเป็นไข้ตัวร้อน (จับสั่น) ซึ่งพิษอาจขึ้นสมองได้ง่าย และอาจคล้ายเป็นโรคปอดบวมได้ โรคปวดตามข้อ ลม อัมพาต ลมบ้าหมู วัณโรคปอด ปวดวท้องทุกชนิด และโรคไตอักเสบมีน้อย ส่วนมะเร็ง ฝีโพรงหนองและปรวตมีมาก ไฟลามทุ่งเป็นกันมาก ไม่มีโรคลักกะปิดลักกะเปิดและโรคท้องมาน
  • ๒๔. อะไรคือโรคห่าในกรุงสยามโรคห่าแท้จริงคือ ฝีดาษ เคยสังหารชีวิตมนุษย์เป็นอันมากอยู่เสมอ
ตอนที่ ๑ เครื่องนุ่งห่ม และรูปร่างหน้าตาของชาวสยามhttps://www.facebook.com/Signnagas/posts/731437163639848:0
ตอนที่ ๒ บ้านเรือนของชาวสยาม และฝีมือการก่อสร้าง
https://www.facebook.com/Signnagas/posts/732067013576863:0
ตอนที่ ๓ เครื่องเรือนของชาวสยาม
https://www.facebook.com/Signnagas/posts/733326163450948:0
ตอนที่ ๔ สำรับกับข้าวของชาวสยาม
https://www.facebook.com/Signnagas/posts/734108796706018:0
ตอนที่ ๕ รถและยานพาหนะทั่วไปของชาวสยาม
https://www.facebook.com/Signnagas/posts/735225446594353:0ok.com/Signnagas/posts/733326163450948:0
หมายเหตุ
  • - มองซิเออร์ เดอ ลาลูแบร์ได้ออกเดินทางจากท่าเรือเมือง เบรสต์ เมื่อวันที่ ๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๒๓๐ มาทอดสมอที่กรุงสยาม เมื่อวันที่ ๒๗ กันยายน พ.ศ. ๒๒๓๐ เดินทางกลับเมื่อวันที่ ๓ มกราคม พ.ศ. ๒๒๓๑ ขึ้นบกที่ท่าเรือเมืองเบรสต์ เมื่อวันที่ ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๒๓๑
  • ความมุ่งหมายในการเขียน เพ่งเล็งในด้านอาณาเขต ความอุดมสมบูรณ์ คุณภาพของดินในการกสิกรรม ภูมิอากาศเป็นประการแรก ต่อมาเป็นขนบธรรมเนียมประเพณีโดยทั่ว ๆ ไป และเฉพาะเรื่องเฉพาะราย เรื่องเกี่ยวกับรัฐบาล และศาสนาจะกล่าวในตอนท้าย และได้รวบรวมบันทึกความทรงจำ เกี่ยวกับประเทศนี้ ที่เขาได้นำติดตัวมาด้วยไปผนวกไว้ตอนท้าย และเพื่อให้ผู้อ่านได้รู้จักชาวสยามโดยแจ่มชัด จึงได้เอาความรู้เกี่ยวกับอินเดีย และจีนหลายประการมาประกอบด้วย นอกจากนั้นยังได้แถลงว่าจะต้องสืบเสาะให้รู้เรื่องราว พิจารณาสอบถาม ศึกษาให้ถึงแก่นเท่าที่จะทำได้ ก่อนเดินทางไปถึงประเทศสยาม ได้อ่านจดหมายเหตุทั้งเก่าและใหม่ บรรดาที่มีผู้เขียนขึ้นไว้เกี่ยวกับประเทศต่าง ๆ ในภาคพื้นตะวันออก ถ้าไม่มีสิ่งดังกล่าว เขาอาจใช้เวลาสักสามปี ก็คงไม่ได้ข้อสังเกต และรู้จักประเทศสยามดี
  • ทำอย่างไรถึงจะได้รับข้อความที่ทางเพจโพสทุกครั้ง ... กดคำว่า “ถูกใจ” แล้ว ใต้ “ภาพหน้าปก” จะมีคำว่า “รับการแจ้งเตือน” ให้กดที่คำนี้ จนเห็นเครื่องหมาย ‘ถูก’ ปรากฎขึ้น เพียงเท่านี้ คุณก็จะไม่พลาดข้อความดีๆอีกต่อไป

fb: นิทรรศการพลังแผ่นดิน
อัศจรรย์งานศิลป์ แผ่นดินสยาม
https://www.facebook.com/Signnagas

ตอนที่ ๓ เครื่องเรือนของชาวสยาม


มองสยามประเทศ ปี พ.ศ ๒๒๓๐ ผ่านจดหมายเหตุ ลา ลูแบร์
ตอนที่ ๓ เครื่องเรือนของชาวสยาม
  • ๑. เครื่องเรือนชิ้นใหญ่ๆ ของชาวสยาม เตียงนอนเป็นแคร่ไม้แคบๆ และลาดเสื่อไม่มีพนักหัวเตียง และเสาเตียง บางทีก็มีหกขาแต่ไม่มีเดือยติดกับแม่แคร่ บางทีก็ไม่มีขาเลย แต่คนส่วนใหญ่มิได้ใช้แคร่นอน คงใช้เพียงเสื่อกกผืนเดียว โต๊ะอาหารเป็นโตก หรือถาดยกขอบ แต่ไม่มีขา ที่กินอาหารไม่มีผ้าปูรอง ไม่มีผ้าเช็ดปากไม่มีช้อน ไม่มีส้อม ไม่มีมีด กับข้าวจะหั่นมาเป็นชิ้นๆ ไม่ใช้เก้าอี้ แต่จะนั่งบนเสื่อกก ไม่มีพรมรองนั่ง จะมีแต่ของพระราชทานเท่านั้น ผู้ที่มีสันถัตรองนั่งถือว่ามีเกียรติยศมาก คนมั่งมีมีหมอนอิง สิ่งที่ทางบ้านเมืองเราทำด้วยผ้าหรือไหม หรือแพรไหม ในประเทศนี้ทำด้วยผ้าฝ้ายสีขาวหรือมีดอกดวงเป็นพื้น
  • ๒. ภาชนะของชาวสยาม ถ้วยชามเป็นเครื่องกระเบื้องก็มี เครื่องดินเผาก็มี กับขันทองแดง บางชิ้นภาชนะทำด้วยไม้อย่างเกลี้ยงๆ หรือขัดมันกะลามะพร้าว และกระบอกไม้ไผ่ก็เป็นภาชนะสำหรับใช้กระจุกกระจิกได้หมด มีภาชนะของใช้ที่ทำด้วยทองคำ และเงินอยู่บ้างแต่ก็มีน้อย เกือบจะมีแต่เครื่องยศที่พระเจ้าอยู่หัวพระราชทานให้เป็นของประจำตำแหน่งเท่านั้น ครุที่ใช้ตักน้ำก็ใช้ไม้ไผ่สานอย่างประณีต ในท้องตลาดจะเห็นราษฎรหุงข้าวกันในกะลามะพร้าวและข้าวจะสุกก่อนที่กะลาจะไหม้
  • ๓. เครื่องมือของชาวสยาม ถ้าไม่ใช่พวกทาส ชาวสยามก็สร้างบ้านเรือนของตนอยู่เอง เหตุนี้เลื่อย และกบไสไม้ จึงเป็นเครื่องมือของทุกคน
  • ๔. เครื่องราชูปโภค เกือบจะอย่างเดียวกันกับราษฎร แต่เป็นของดีมีค่ากว่าของสามัญชน ท้องพระโรง ณ สยาม และ ณ เมืองละโว้ ก็กรุฝา และเพดานด้วยไม้กระดาน ไม่ที่กรุนั้นล่องชาด และเขียนกนกทองลายกระดาน และลายก้านขดพื้นปูพรม ท้องพระโรงที่เมืองละโว้ ประดับไว้รอบด้านด้วยกระจกเงา ซึ่งเรือกำปั่นของพระเจ้ากรุงฝรั่งเศสบรรทุกมาสู่เมืองสยาม
  • หอประชุมองคมนตรีก็ตกแต่งไว้ทำนองเดียวกัน ทางด้านลึก มีบัลลังก์ ราชอาสน์ ทำอย่างแท่นไม้ขนาดใหญ่คล้ายเตียงนอน มีเสาฐาน พื้น และวิสูตร ล้วนหุ้มด้วยแผ่นทองคำ พระราชอาสน์ปูพรม แต่ไม่ได้ดาษเพดาน กั้นวิสูตร หรือมีเครื่องประดับอย่างอื่นอีก ที่หัวพระแท่นมีพระเขนยอิง ไม่ได้ประทับบนพระยี่ภู่ แต่ประทับบนพรมเท่านั้น
  • ในหอประชุมที่ผนังด้านขวาของพระบัลลังก์ มีกระจกเงาบานหนึ่ง ซึ่งพระเจ้ากรุงฝรั่งเศสโปรดให้ มร.เดอะ โชมองต์ นำมาน้อมเกล้าฯ ถวายพระเจ้ากรุงสยาม ยังมีพระราชอาสน์ไม้ปิดทองอีกองค์หนึ่ง ที่ทรงประทับในวาระที่ให้คณะฑูต พระเจ้ากรุงฝรั่งเศสเข้าเฝ้าเป็นการส่วนพระองค์ มีเตียบ หรือพานพระศรี องค์หนึ่งสูง ๒ ฟุต ตั้งไว้ด้วย ทำด้วยเงินและลงทองบางแห่ง ฝีมือประณีต
  • ๕. ชาม จาน เครื่องโต๊ะอาหารในพระราชวัง ได้เห็นจานเงินเป็นจำนวนมากพอใช้ โดยเฉพาะถาดกลม และก้นลึกมีขอบสูงราวหนึ่งนิ้วฟุต ในถาดวางโถขนาดใหญ่กลม เส้นผ่าศูนย์กลางหนึ่งนิ้วฟุตครึ่งไว้ หลายใบ มีฝาปิด มีเชิงเท้าได้ขนาดกับสัดส่วนของมัน ใช้ใส่ข้าวให้บริโภค ส่วนจานผลไม้นั้นเป็นจานทองคำ เพื่อถวายพระเกียรติแด่พระมหากษัตริย์ ชาวสยามนิยมใช้ภาชนะทรงสูงตั้งเครื่องต้นถวาย และภาชนะที่ใช้เป็นปกติในการเสวยนั้น ก็เป็นเครื่องกระเบื้อง มิได้ใช้ภาชนะทองคำหรือเงิน ดังธรรมเนียมทั่วไปในราชสำนักทั้งหลาย ทางภาคพื้นอาเซีย และแม้ที่กรุงคอนสแตนติโนเปิล
ตอนที่ ๑ เครื่องนุ่งห่ม และรูปร่างหน้าตาของชาวสยามhttps://www.facebook.com/Signnagas/posts/731437163639848:0
ตอนที่ ๒ บ้านเรือนของชาวสยาม และฝีมือการก่อสร้าง
https://www.facebook.com/Signnagas/posts/732067013576863:0
ตอนที่ ๓ เครื่องเรือนของชาวสยาม
https://www.facebook.com/Signnagas/posts/733326163450948:0
ตอนที่ ๔ สำรับกับข้าวของชาวสยาม
https://www.facebook.com/Signnagas/posts/734108796706018:0
ตอนที่ ๕ รถและยานพาหนะทั่วไปของชาวสยาม
https://www.facebook.com/Signnagas/posts/735225446594353:0
หมายเหตุ
  • - มองซิเออร์ เดอ ลาลูแบร์ได้ออกเดินทางจากท่าเรือเมือง เบรสต์ เมื่อวันที่ ๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๒๓๐ มาทอดสมอที่กรุงสยาม เมื่อวันที่ ๒๗ กันยายน พ.ศ. ๒๒๓๐ เดินทางกลับเมื่อวันที่ ๓ มกราคม พ.ศ. ๒๒๓๑ ขึ้นบกที่ท่าเรือเมืองเบรสต์ เมื่อวันที่ ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๒๓๑
  • ความมุ่งหมายในการเขียน เพ่งเล็งในด้านอาณาเขต ความอุดมสมบูรณ์ คุณภาพของดินในการกสิกรรม ภูมิอากาศเป็นประการแรก ต่อมาเป็นขนบธรรมเนียมประเพณีโดยทั่ว ๆ ไป และเฉพาะเรื่องเฉพาะราย เรื่องเกี่ยวกับรัฐบาล และศาสนาจะกล่าวในตอนท้าย และได้รวบรวมบันทึกความทรงจำ เกี่ยวกับประเทศนี้ ที่เขาได้นำติดตัวมาด้วยไปผนวกไว้ตอนท้าย และเพื่อให้ผู้อ่านได้รู้จักชาวสยามโดยแจ่มชัด จึงได้เอาความรู้เกี่ยวกับอินเดีย และจีนหลายประการมาประกอบด้วย นอกจากนั้นยังได้แถลงว่าจะต้องสืบเสาะให้รู้เรื่องราว พิจารณาสอบถาม ศึกษาให้ถึงแก่นเท่าที่จะทำได้ ก่อนเดินทางไปถึงประเทศสยาม ได้อ่านจดหมายเหตุทั้งเก่าและใหม่ บรรดาที่มีผู้เขียนขึ้นไว้เกี่ยวกับประเทศต่าง ๆ ในภาคพื้นตะวันออก ถ้าไม่มีสิ่งดังกล่าว เขาอาจใช้เวลาสักสามปี ก็คงไม่ได้ข้อสังเกต และรู้จักประเทศสยามดี
  • ทำอย่างไรถึงจะได้รับข้อความที่ทางเพจโพสทุกครั้ง ... กดคำว่า “ถูกใจ” แล้ว ใต้ “ภาพหน้าปก” จะมีคำว่า “รับการแจ้งเตือน” ให้กดที่คำนี้ จนเห็นเครื่องหมาย ‘ถูก’ ปรากฎขึ้น เพียงเท่านี้ คุณก็จะไม่พลาดข้อความดีๆอีกต่อไป

fb: นิทรรศการพลังแผ่นดิน
อัศจรรย์งานศิลป์ แผ่นดินสยาม
https://www.facebook.com/Signnagas