วันอังคารที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2558

3 ประเภทของหลักฐานทางประวัติศาสตร์

3 ประเภทของหลักฐานทางประวัติศาสตร์

1x42.gif

  1. หลักฐานที่จำแนกตามความสำคัญ
    1. หลักฐานชั้นต้น
    2. หลักฐานชั้นรอง
  2. หลักฐานที่ใช้อักษรเป็นตัวกำหนด
    1. หลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษร
    2. หลักฐานที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร
  3. หลักฐานที่กำหนดตามจุดหมายของการผลิต
    1. หลักฐานที่มนุษย์ตั้งใจสร้างขึ้น
    2. หลักฐานที่มิได้เป็นผลผลิตที่มนุษย์สร้างหรือตั้งใจสร้าง

  1. หลักฐานที่จำแนกตามความสำคัญ

    1. หลักฐานชั้นต้น( primary sources)  หมายถึง คำบอกเล่าหรือบันทึกของผู้พบเห็นเหตุการณ์หรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์โดยตรง ได้แก่ บันทึกการเดินทาง จดหมายเหตุ จารึก รวมถึงสิ่งก่อสร้าง หลักฐานทางโบราณคดี โบราณสถาน โบราณวัตถุ เช่น โบสถ์ เจดีย์ วิหาร พระพุทธรูป รูปปั้น หม้อ ไห ฯลฯ
    2. หลักฐานชั้นรอง( secondary sources)  หมายถึง ผลงานที่เขียนขึ้น หรือเรียบเรียงขึ้นภายหลังจากเกิดเหตุการณ์นั้นแล้ว โดยอาศัยคำบอกเล่า หรือจากหลักฐานชั้นต้นต่างๆ ได้แก่ ตำนาน วิทยานิพนธ์ เป็นต้น
  1. หลักฐานที่ใช้อักษรเป็นตัวกำหนด
    1. หลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษร (written sources)  หมายถึง หลักฐานที่มีการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรบอกเล่าเรื่องราวต่างๆ ได้แก่ ศิลาจารึก พงศาวดาร ใบลาน จดหมายเหตุ วรรณกรรม ชีวประวัติ หนังสือพิมพ์ วารสาร นิตยสาร รวมถึงการบันทึกไว้ตามสิ่งก่อสร้างโบราณสถาน โบราณวัตถุ แผนที่ หลักฐานประเภทนี้จัดว่าเป็นหลักฐานสมัยประวัติศาสตร์
    2. หลักฐานที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร  หมายถึง สิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นทั้งหมดที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร ได้แก่ สิ่งก่อสร้างโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปะการแสดง คำบอกเล่า นาฏศิลป์ ตนตรี จิตรกรรม ฯลฯ
  2. หลักฐานที่กำหนดตามจุดหมายของการผลิต
    1. หลักฐานที่มนุษย์ตั้งใจสร้างขึ้น artiface   หมายถึง หลักฐานที่มนุษย์สร้างขึ้นเพื่อใช้ในการดำรงชีวิต
    2. หลักฐานที่มิได้เป็นผลผลิตที่มนุษย์สร้างหรือตั้งใจสร้าง  หมายถึง วิธีการทางประวัติศาสตร์ กระบวนการสืบค้นเรื่องราวในอดีตของสังคมมนุษย์เริ่มต้นที่ความอยากรู้อยากเห็นของผู้ต้องการ ศึกษาและต้องการสอบสวนค้นคว้า หาคำตอบด้วยตนเอง จากร่องรอยที่คนในอดีตได้ทำไว้และตกทอดเหลือมาถึงปัจจุบัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น