วันจันทร์ที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2558

55.ภูมิปัญญาไทย

ภูมิปัญญาไทย
1x42.gif
ภูมิปัญญาไทย หมายถึง ความรู้ ความสามารถ วิธีการ ผลงานที่คนไทยได้ศึกษา เก็บรวบรวมความรู้ และจัดเป็นองค์ความรู้ ปรับปรุง พัฒนา ถ่ายทอดจากคนรุ่นหนึ่งไปสู่คนอีกรุ่นหนึ่ง จนเกิดผลดีงาม มีคุณค่า มีประโยชน์ นำไปแก้ปัญหาและพัฒนาชีวิตของคนไทยได้อย่างเหมาะสมกับยุคสมัย
ภูมิปัญญาท้องถิ่นหรือภูมิปัญญาชาวบ้าน หรือภูมิปัญญาพื้นบ้าน หมายถึง สิ่งที่แสดงความรู้ ความคิด และการกระทำของบรรพบุรุษของเรา เพื่อที่จะดำรงชีวิตรอดอย่างมีความสุข
ภูมิปัญญาไทยสามารถแบ่งได้เป็น 10 สาขา ดังนี้
  1. สาขาเกษตร
  2. สาขาอุตสาหกรรมและหัตถกรรม
  3. สาขาแพทย์แผนไทย
  4. สาขาการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
  5. สาขาภาษาและวรรณกรรม
  6. สาขาศิลปกรรม
  7. ศาสนาและประเพณี
  8. สาขาการจัดการองค์กร
  9. สาขาสวัสดิการ
  10. สาขากองทุนและธุรกิจชุมชน
ลักษณะของภูมิปัญญาไทย มีดังนี้
  1. เป็นเรื่องใช้ความรู้ ทักษะ ความเชื่อ และพฤติกรรม แสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างคนกับคน คนกับธรรมชาติสิ่งแวดล้อมและคนกับสิ่งเหนือธรรมชาติ
  2. เป็นองค์รวมหรือกิจกรรมทุกอย่างในวิถีชีวิต
  3. เป็นเรื่องของการแก้ไขปัญหา การจัดการ การปรับตัว การเรียนรู้ เพื่อคงวามอยู่รอดของบุคคล ชุมชน และสังคม
  4. ภูมิปัญญา เป็นแกนหลัก หรือกระบวนทัศน์ในการมองชีวิต เป็นพื้นความรู้ในเรื่องต่าง ๆ   มีลักษณะเฉพาะหรือมีเอกลักษณ์ในตัวเอง มีการเปลี่ยนแปลง เพื่อการปรับสมดุลในพัฒนาการทางสังคมตลอดเวลา

ภูมิปัญญาในภาคต่างๆของไทย


ภูมิปัญญาไทยในภาคเหนือ
  มีขันโตก ฟ้อน ซอ บ้านกาแล เครื่องมือดักสัตว์ เครื่องมือทำไร่ทำนา ฟ้อนผี งานแกะสลักไม้ มีการขับซอ แกะสลักช้าง การทำแหนม สืบชะตาขุนน้ำ บวชต้นไม้บวชป่า  การทำไม้
ภูมิปัญญาไทยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
  ด้วยอุปนิสัยขยันขันแข็ง และสุขภาพร่างกายที่สมบูรณ์ จิตใจผ่องใสอ่อนโยน และเวลาที่ว่างจากการทำนา จึงคิดสร้าง สรรค์งานศิลป์ในรูปแบบต่างๆ ผ้าไหมลายสวย ผ้าฝ้ายทอมือที่นับวันจะหายาก ข้าวของเครื่องใช้ เครื่องจักสาน และเครื่องปั้นดินเผา
ภูมิปัญญาไทยในภาคกลาง
  การสู่ขวัญข้าว ภูมิปัญญาในการตั้งถิ่นฐานบ้านเรือนและชุมชน เช่นการสร้างบ้านทรงไทย ภูมิปัญญาในการปรับตัวและหลอมรวมร่วมกันระหว่างคนหลายชาติพันธุ์ เช่น งานวันไหล เป็นต้น
ภูมิปัญญาแสดงออกมาทางประเพณี เช่น ประเพณีตักบาตรน้ำผึ้ง ประเพณีตักบาตรดอกไม้ ประเพณีวิ่งควาย ประเพณีสงกรานต์ ประเพณีบุญกลางบ้าน ประเพณีวันไหล และประเพณีกวนข้าวทิพย์ เกี่ยวกับการละเล่นก็มีมากมาย เช่น การแสดงโขน ลำตัด มอญซ่อนผ้า งูกินหาง การแข่งว่าวปักเป้าและจุฬา
ภูมิปัญญาไทยในภาคตะวันออก
   ประเพณีเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ เช่น การทำบุญกองข้าว การแข่งขันวิ่งควาย ประเพณีเกี่ยวกับความเชื่อทางศาสนา เช่น ประเพณีแห่หลวงพ่อโสธร
ภูมิปัญญาไทยในภาคตะวันตก
  ประชาชนประกอบอาชีพในการทำไร่เป็นส่วนใหญ่ รวมถึงเลี้ยงโคนม โคเนื้อตามที่ราบเชิงเขา มีการประกอบอาชีพบริการการท่องเที่ยว
ภูมิปัญญาไทยในภาคใต้
  เครื่องตักน้ำ, ยาสมุนไพรซาไก, การรักษากระดูก, เรือกอและ,บอกหนมจีน, เหล็กไฟตบ, พิธีไหว้แม่ย่านางเรือ,ภูมิปัญญาในด้านการแสดง เช่น โนราห์ หนังตะลุง การแสดงชาวมุสลิม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น