วันจันทร์ที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2558

53.วิถีการดำเนินชีวิตในสมัยสุโขทัย

วิถีการดำเนินชีวิตในสมัยสุโขทัย
1x42.gif
1. ด้านการเมืองการปกครอง ในช่วงแรกผู้ปกครองสุโขทัยมีความไกล้ชิดกับประชาชน เหมือนพ่อปกครองลูก สำหรับการปกครองแบบพ่อกับบกับนี้ ประชาชนจะนับถือพระเจ้าแผ่นดินเหมือนเป็นอย่างบิดา พ่อปกครองครัวเรือนหลายครัวเรือนรวมกันเป็นบ้านอยู่ในปกครองของพ่อบ้าน ผู้อยู่ในปกครอง เรียกว่า ลูกบ้าน หลายบ้านรวมกันเป็นเมืองถ้าเป็นเมืองขึ้นอยู่ในความปกครองของพ่อเมือง ถ้าเป็นประเทศราชเจ้าเมืองเป็นขุนหลายเมืองรวมกันเป็นประเทศที่อยู่ในความปกครองของพ่อขุน ข้าราชการในตำแหน่งต่าง ๆ เรียกว่าลูกขุน
2. ด้านเศรษฐกิจ ชาวบ้านประชาชน มีอิสระภาพในการประกอบอาชีพ ในด้านต่างๆ เช่น การทำเกษตรกรรม ค้าขาย มีการใช้เงินพดด้วงและเบี้ยในการแลกเปลี่ยนกัน
3. ด้านสังคมและวัฒนธรรม สังคมในสมัยนั้นมีขนาดไม่ใหญ่มาก เนื่องจากประชากรมีจำนวนน้อย ชนชั้นต่างๆแบ่งออกเป็น ชนชั้นปกครองได้แก่ พระมหากษัตริย์ ขุนนาง และผู้ถูกปกครอง คือ ราษฎร ทาส และพระสงฆ์ ชาวสุโขทัยนั้นมีความศรัทธาในพระพุทธศาสนา ได้มีการสร้างวัดวาอาราม พระพุทธรูปจำนวนมาก มีการแต่งวรรณกรรมด้วย คือ ไตรภูมิพระร่วง นั่นเอง  ศาสนาเป็นสถาบันที่สำคัญในสังคมเพราะประชาชนหันเข้าหาศาสนาเพื่อแก้ปัญหาทุก ขณะเดียวกันตัวแทนของศาสนาคือพระ

วิถีการดำเนินชีวิตในสมัยอยุธยาถึงรัตนโกสินทร์ตอนต้น
1. ด้านการเมืองการปกครอง
   ในสมัยอยุธยาได้รับคติการปกครองแบบสมมติเทพมาจากเขมรที่ผู้ปกครองเปรียบดังเทพเจ้า จึงมีข้อปฏิบัติตามกฎมณเฑียรบาลที่ทำให้ผู้ปกครองมีความแตกต่างจากประชาชน เช่น การใช้ราชาศัพท์ การมีพระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา เป็นต้น ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ปกครองกับราษฎรจึงห่างเหินกัน
2. ด้านเศรษฐกิจ
   เป็นระบบเศรษฐกิจแบบพึ่งตนเองและยังชีพอยู่ได้ ราษฎรสามารถผลิตสิ่งของที่จำเป็นในชีวิตประจำวันใช้เองในครัวเรือน ผูกขาดโดยพระคลังสินค้า สินค้าของตะวันตกส่วนใหญ่ขายได้เฉพาะสินค้าบางประเภท เช่น อาวุธปืน กระสุนปืน และสินค้าฟุ่มเฟือยที่ใช้ในราชสำนักหรือสำหรับกลุ่มที่มี การจัดระบบภาษีอาการและระบบเงินตรา
3. ด้านสังคมและวัฒนธรรม
   สังคมไทยสมัยอยุธยาได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรมประเพณีจากเขมร อินเดีย มอญ จีน ญี่ปุ่น เปอร์เซีย อาหรับ ยุโรป เช่น การกำหนดชนชั้นของคนในสังคม กฎหมาย ประเพณี พระราชพิธีและธรรมเนียมในราชสำนัก วิถีการดำเนินชีวิตต่าง ๆ เช่น การดื่มชา การใช้เครื่องถ้วยชาม เครื่องเคลือบ การปรุงอาหาร และขนมหวาน ประชาชนมีประเพณีในชีวิตประจำวันที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนา เช่น การเกิด การอุปสมบท การแต่งงาน การตาย และประเพณีเกี่ยวกับสังคม

วิถีการดำเนินชีวิตในสมัยการปฎิรูปประเทศ ในสมัยรัชกาลที่ 4 ถึงการเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี พ.ศ. 2475
1.ด้านการเมืองการปกครอง
   ในรัชกาลที่ 4 ประเทศไทยได้ถูกคุกคามจากภัยการล่าอาณานิคมของจักรวรรดิตะวันตก ทำให้พระมหากษัตริย์ไทยต้องดำเนินนโยบายทางด้านการต่างประเทศอย่างรอบคอบ รัชกาลที่ 5 ทรงแก้ไขปัญหาโดยใช้นโยบายการผ่อนหนักเป็นเบา
2.ด้านเศรษฐกิจ
   ในรัชกาลที่ 4 ไทยได้มีการทำสัญญาเบาว์ริงกับประเทศอังกฤษโดยไทยเสียเปรียบอย่างมากแต่ต้องยอม เนื่องจากเกรงอิทธิพลของอังกฤษ ทำให้เศรษฐกิจเป็นระบบการค้า มีการเปลี่ยนแปลงสกุลเงินจากพดด้วงมาเป็นเหรียญกษาปณ์และธนบัตร ลดการเก็บภาษาจากร้อยละ 10เหลือ ร้อยละ 3
3.ด้านสังคมวัฒนธรรม
   ในรัชกาลที่ 4 อนุญาตให้ไพร่เสียเงินแทนการถูกเกณฑ์แรงงานเข้ารับราชการ ให้เสรีภาพแก่สตรีที่บรรลุนิติภาวะในการเลือกคู่ครองโดยพ่อแม่จะบังคับไม่ได้ ห้ามพ่อแม่ขายบุตรเป็นทาส ห้ามสามีขายภรรยาเป็นทาสโดยเจ้าตัวไม่สมัครใจ . ประกาศให้ข้าราชการสวมเสื้อเวลาเข้าเฝ้า โปรดให้สร้างเครื่องราชอิสริยาภรณ์ขึ้นเพื่อเป็นของที่พระมหากษัตริย์พระราชทาน เป็นบำเหน็จรางวัลแก่พระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชการไทย และชาวต่างประเทศ ทรงเปลี่ยนแปลงพระราชพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยา โดยพระองค์ทรงร่วมเสวยด้วย
สมัยหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี พ.ศ. 2475 ถึงปัจจุบัน
1.ด้านการเมืองการปกครอง
   มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นประชาธิปไตยในปี พ.ศ. 2475
2.ด้านเศรษฐกิจ
  เริ่มมีแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติครั้งแรก มุ่งเน้นการส่งออกสินค้าเป็นสำคัญ
3.ด้านสังคมวัฒนธรรม
  ไทยประกาศใช้รัฐธรรมนูญเป็นจำนวน 18 ฉบับ วัฒนธรรมส่วนใหญ่รับแบบอย่างมาจากประเทศตะวันตก
1x42.gif

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น