วันอังคารที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2558

2 หลักฐานทางประวัติศาสตร์

2 หลักฐานทางประวัติศาสตร์

1x42.gif
ความหมายของหลักฐานทางประวัติศาสตร์
หลักฐานทางประวัติศาสตร์ คือ แหล่งข้อมูลทางประวัติศาสตร์ที่เป็นหลักฐานข้อเท็จจริงประกอบในการอธิบายแลให้เหตุผลในการเขียนข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ในแต่ละยุคอาจเป็นหลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษรและหลักฐานที่เป็นวัตถุได้แก่ ตำนาน จดหมายเหตุ โบราณวัตถุโบราณสถาน ต่างๆเช่น วัดมหาธาตุวรมหาวิหาร เป็นต้น

หลักฐานทางประวัติศาสตร์
1. หลักฐานที่เป็นลายลักษณ์ หมายถึง หลักฐานที่เป็นตัวหนังสือ มนุษย์ในแต่ละสังคมได้ทิ้งหลักฐานที่เป็นตัวหนังสือประเภทต่างๆไว้มากมาย บนแผ่นศิลา โลหะ ใบลาน กระดาษ หรือผ้าไหม หลักฐาน ลายลักษณ์ของไทย เช่น จารึก ตำนาน พงศาวดาร จดหมายเหตุ บันทึกความทรงจำ หนังสือพิมพ์ วารสาร กฎหมาย จดหมาย เอกสารราชการ งานวรรณกรรม เละงานนิพนธ์ทางประวัติศาสตร์
.                  .     

.
สมุดข่อย พงศาวดารฉบับหลวงประเสรฐ  
2. หลักฐานที่ไม่เป็นลายลักษณ์ หมายถึง หลักฐานที่ไม่ได้บันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร แต่เป็นผลงานที่มนุษย์สร้างสรรค์ขึ้น และหลงเหลือตกทอดมาตามกาลเวลา หลักฐานประเภทนี้มีทั้งหลักฐานสมัยก่อนประวัติศาสตร์และหลักฐานสมัยประวัติศาสตร์ ได้แก่
2.1 หลักฐานทางโบราณคดี ได้แก่ โบราณสถาน เช่น พระราชวัง วัด เจดีย์ กำแพงเมือง คูเมือง และ โบราณวัตถุ เช่น พระพุทธรูป เครื่องปั้นดินเผา เครื่องประดับหินหรือเปลือกหอย เป็นต้น
2.2 หลักฐานทางศิลปกรรมและสถาปัตยกรรม เช่น จิตกรรม ประติมากรรม ปราสาทหิน ปราสาทราชมณเฑียร เรือนไทย พระพุทธรูป เจดีย์ เป็นต้น
2.3 หลักฐานทางนาฏกรรมและดนตรี เช่น เพลงพื้นบ้าน เพลงกล่อมเด็ก ละคร ดนตรี เป็นต้น
2.4 หลักฐานจากขนบธรรมเนียมประเพณีและคติความเชื่อของชนกลุ่มต่าง ๆ
2.5 หลักฐานจากคำบอกเล่า ที่ถ่ายทอดหรือเล่าสืบต่อกันมาและการสัมภาษณ์สอบถามจากบุคคลทั่วไป
2.6 หลักฐานประเภทโสตทัศน์ เช่น ภาพถ่าย ภาพถ่ายทางอากาศแผนที่ ภาพยนตร์
หลักฐานข้อมูลทางประวัติศาสตร์เป็นข้อมูลสำคัญที่นักประวัติศาสตร์สามารถนำมาใช้ในการสืบค้นเรื่องราวต่างๆ ในอดีต งานศึกษา ทางประวัติศาสตร์ จะพิจารณาจากเวลาที่เริ่มมีหลักฐาน ประเภท ลาย-ลักษณ์เป็นจุดแบ่ง แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าการศึกษาอดีตในยุคประวัติศาสตร์จะใช้เฉพาะหลักฐานที่เป็นลายลักษณ์เท่านั้น การใช้หลักฐานอย่างกว้างขวางจะช่วยให้งานศึกษาประวัติศาสตร์มีความน่าเชื่อถือมากขึ้น
สำหรับหลักฐานทางประวัติศาสตร์ไทยนั้น งานเขียนประวัติศาสตร์ไทยเมื่อแรกเริ่มนั้นจารึก ตำนาน พงศาวดาร ซึ่งมีลักษณะการบันทึกแบบบอกเล่าเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องราวของศาสนาและพระมหากษัตริย์จนถึงสมัยสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ไทย ได้รับแนวทางการศึกษาประวัติศาสตร์ แบบ ตะวันตก ที่ให้ความสำคัญในการตรวจสอบหลักฐาน และปล่อยให้หลักฐานบอกความหมายของตัวเอง เป็นพัฒนาการอีกระดับหนึ่งจากการบอกเล่าแบบพงศาวดาร แต่ในด้านเอกสาร หลักฐานยังเน้นที่การเปรียบเทียบพงศาวดารเกี่ยวกับประวัติศาสตร์การเมืองการปกครอง โดยเน้นความสำคัญของเมืองและศูนย์รวมอำนาจ



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น