วันอังคารที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2558

4 การประเมินความน่าเชื่อถือของหลักฐานทางประวัติศาสตร์

4 การประเมินความน่าเชื่อถือของหลักฐานทางประวัติศาสตร์

1x42.gif

วิธีการประเมินความน่าเชื่อถือของหลักฐานทางประวัติศาสตร์

การศึกษาประวัติศาสตร์ จำเป็นต้องอาศัยหลักฐานต่าง ๆ เกี่ยวกับเรื่องนั้น ๆ มาศึกษาวิเคราะห์ ตีความเรื่องราว และตรวจสอบความถูกต้องของเรื่องราวเหตุการณ์นั้น ๆ หลักฐานที่เกี่ยวข้องกับเรื่องราวประวัติความเป็นมาของมนุษย์ เรียกว่า หลักฐานทางประวัติศาสตร์ ซึ่งสามารถแยกได้ดังนี้
  1. หลักฐานทางศิลปกรรมและโบราณคดี หลักฐานทางศิลปกรรมที่สำคัญ คือ ศิลปวัตถุแบบอู่ทอง ศิลปวัตถุแบบลพบุรี ศิลปวัตถุแบบทวารวดี นอกจากนี้ได้แก่ เงินตรา ซากอิฐปูนของวัดวาอาราม พระพุทธรูป เครื่องใช้ตามบ้านเรือน ฯลฯ
  2. หลักฐานที่เป็นหนังสือเก่านั้นมักจะเขียนลงบนสมุดข่อยหรือใบลาน เช่น ตำนานสิงหนวัติ (เล่าเรื่องตั้งแต่พระเจ้าสิงหนวัติอพยพมาจากเหนือ)  จามเทวีวงศ์ (เป็นเรื่องเมืองหริภุญไชย)  รัตน์พิมพ์วงศ์ (เป็นตำนานพระแก้วมรกต) สิหิงคุนิทาน (เป็นประวัติพุทธศาสนาและประวัติเมืองต่าง ๆ ในลานนาไทย)  จุลยุทธ์กาลวงศ์ (เป็นพงศาวดารไทย ตั้งแต่สมัยพระเจ้าอู่ทอง ตลอดสมัยอยุธยา)  ตำนานสุวรรณโคมคำ และตำนานมูลศาสนา (เป็นเรื่องราวประวัติศาสตร์ไทยก่อนสมัยสุโขทัย) ปัญหาของหลักฐานที่เป็นหนังสือเก่า คือ เราไม่ทราบว่าผู้บันทึกเขียนไว้เมื่อไร มีความจริงแค่ไหน และแต่งเติมเพียงใด
  3. หลักฐานที่เป็นศิลาจารึก ศิลาจารึกถือว่าเป็นหลักฐานที่สำคัญมากในการศึกษาประวัติศาสตร์ไทยในระยะเริ่มแรกสมัยสุโขทัยที่สำคัญได้แก่ ศิลาจารึกหลักที่ 1 (จารึกพ่อขุนรามคำแหง)  ศิลาจารึกหลักที่ 2 (จารึกวัดศรีชุม) , ศิลาจารึกหลักที่ 3 (จารึกนครชุม)ศิลาจารึกหลักที่ 4 (จารึกวัดป่ามะม่วง) ศิลาจารึกหลักที่ 8 ข. (จารึกวัดพระมหาธาตุ) จารึกหลักที่ 24 (จารึกวัดหัวเวียงไชยา) จารึกหลักที่ 35 (จารึกดงแม่นางเมือง นครสวรรค์) จารึกหลักที่ 62 (จารึกวัดพระยืน ลำพูน) ฯลฯ หมายเหตุ ศิลาจารึกให้ลำดับหลักตามการค้นพบ ก่อน – หลัง
  4. หลักฐานพวกที่เป็นพงศาวดารพระราชพงศาวดารสยามมีมากมาย แต่ที่มีความสำคัญต่อการศึกษาประวัติศาสตร์ไทย ได้แก่
    1. พระราชพงศาวดารสยามที่แต่งในสมัยอยุธยา คือ ฉบับหลวงประเสริฐ
    2. พระราชพงศาวดารสยามที่แต่งในสมัยรัตนโกสินทร์ แยกเป็น 3 รัชกาล คือ
      1. ฉบับรัชกาลที่ 1 มี 4 สำนวน คือ ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม), ฉบับเจ้าพระยาพิพิธพิชัย ฉบับพระพันรัตน์ ฉบับบริติชมิวเซียม
      2. ฉบับรัชกาลที่ 3 มี 1 สำนวน คือ ฉบับสมเด็จกรมพระปรมานุชิตชิโนรส
      3. ฉบับรัชกาลที่ 4 มี 4 สำนวน คือ ฉบับพระราชหัตถเลขา
      4. พระราชพงศาวดารฉบับอื่น ๆ คือ พระราชพงศาวดารกรุงเก่าฉบับพระจักรพรรดิพงศ์ (จาด) พงศาวดารเหนือ พงศาวดารโยนก
  5. หลักฐานที่เป็นจดหมายเหตุชาวต่างประเทศหลักฐานพวกนี้เป็นหลักฐานภาษาต่างประเทศ เพราะมีชาวยุโรปหลายชาติเข้ามาติดต่อในสมัยอยุธยา หลักฐานเหล่านี้อยู่ในรูปของบันทึก จดหมายเหตุ จดหมายถึงผู้บังคับบัญชา จดหมายของข้าราชการและพ่อค้า เอกสารทางการทูต บันทึกของมิชชันนารี เช่น จดหมายเหตุของลาลูแบร์ บันทึกของบาดหลวงเดอ ชั่ว สี จดหมายเหตุวันวิลิต เอกสารฮอลันดา ฯลฯ อ้างอิงจาก (สุริยันตร์ เชาวน์ปรีชา: เอกสารประกอบ การสัมมนาประวัติพระยาพิชัยดาบหักเพื่อการจัดทำหลักสูตรบุคคลสำคัญท้องถิ่น

หลักเกณฑ์การประเมินค่าของหลักฐานทางประวัติศาสตร์
แบ่งเป็น 2 ประเภท

  1. การวิเคราะห์และประเมินคุณค่าหลักฐานจากภายใน หมายถึง การตรวจสอบความน่าเชื้อถือของหลักฐานว่ามีความน่าเชื่อถือมาก ปานกลาง หรือไม่น่าเชื่อถือทั้งหมด ซึ่งจะต้องใช้ด้วยความระมัดระวัง และควรตรวจสอบดังนี้
    1. ช่วงระยะเวลาของเหตุการณ์และการบันทึก ได้ทันเหตุการณ์ความถูกต้องย่อมมีมากขึ้น
    2. จุดมุ่งหมายของผู้บันทึก บางคนตั้งใจบันทึกได้ทันเหตุการณ์ความถูกต้องย่อมมีมากขึ้นเท่านั้น
    3. ผู้บันทึกรู้ในเรื่องราวนั้นจริงหรือไม่ เรื่องราวที่อ้างอิงมาจากบุคคลอื่นหรือเป็นคำพูดของผู้บันทึกเอง
    4. คุณสมบัติของผู้บันทึกเกี่ยวกับการศึกษาเล่าเรียน สภาพแวดล้อมน่าเชื่อถือหรือไม่ ขณะที่บันทึกนั้นสภาพร่างกายหรือจิตใจปกติหรือไม่มีความกดดันทางอารมณ์ หรือถูกบีบบังคับให้เขียนหรือไม่ข้อความในหลักฐานที่อาจเกิดการคัดลอกหรือแปลผิดพลาดหรือมีการต่อเติมเกิดขึ้น
    5. ข้อความนั้นมีอคติเกี่ยวกับเชื้อชาติ ศาสนา ลัทธิการเมือง ฐานะทางเศรษฐกิจ สังคมหรือไม่
    6. วิธีการในการบันทึกใช้วิธีการบันทึกอย่างไร ถี่ถ้วนมีอรรถรสหรือเป็นการบันทึกโดยการสืบหาสาเหตุอย่างเที่ยงธรรม ถ้าหากผู้บันทึกใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์บันทึกเหตุการณ์ จะทำให้เป็นหลักฐานที่น่าเชื่อถือ
การประเมินคุณค่าหลักฐานจากภายนอก เป็นการมุ่งวิเคราะห์และพิสูจน์หลักฐานว่า เป็นของจริงหรือของปลอม ไม่ว่าจะเป็นบางส่วนหรือทั้งหมด โดยอาศัยวิธีการเปรียบเทียบกับหลักฐานอื่น อย่างไรก็ตาม การตรวจสอบหลักฐานว่าจริงหรือปลอมนั้น ผู้ศึกษาไม่สามารถตรวจสอบด้วยตนเองได้ทั้งหมด เพราะต้องใช้ความรู้ความสามารถเฉพาะทางจริง ๆ จึงต้องอาศัยผลงานหรือขอความร่วมมือจากผู้เชี่ยวชาญสาขาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งส่วนนี้จะเป็นการตรวจสอบหาข้อบกพร่องของหลักฐาน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น