วันอังคารที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2559

ตอนที่ ๔ สำรับกับข้าวของชาวสยาม


มองสยามประเทศ ปี พ.ศ ๒๒๓๐ ผ่านจดหมายเหตุ ลา ลูแบร์
ตอนที่ ๔ สำรับกับข้าวของชาวสยาม
  • ๑. ชาวสยามกินอาหารน้อย และอาหารของเขามีอะไรบ้าง สำรับกับข้าวของชาวสยามไม่สู้ฟุ้มเฟือยนัก เนื่องด้วยมีฤดูร้อนติดต่อกันอยู่ตลอดเวลา อาหารหลักคือ ข้าวกับปลา ทะเลได้ให้หอยนางรม ตัวเล็กๆ มีรสชาดดีมาก เต่าขนาดย่อมเนื้อรสดี กุ้งทุกขนาด ปลาเนื้อดีอีกมาก แม่น้ำสมบูรณ์ด้วยปลา ส่วนใหญ่เป็นปลาไหลตัวงามๆ แต่ชาวสยามไม่สู้นิยมกินปลาสด
  • ๒. ความประหลาดของปลาสองชนิด มีปลาน้ำจืดอยู่สองชนิดเรียกว่าปลาอุต และปลากระดี่ เมื่อจับปลาได้แล้ว นำมาหมักเกลือใส่รวมไว้ในตุ่ม หรือไหดินเผาดองไว้ ปลาจะเน่าในไม่ช้า
  • ๓. การหมักเค็มของชาวสยาม พวกเขาชอบบริโภคของที่หมักเค็มไว้ยังไม่ได้ที่ และปลาแห้งยิ่งกว่าปลาสด ธรรมชาติคงจะแต่งให้ชาวสยามกินอาหารประเภทที่ย่อยง่าย
  • ๔. ชาวสยามคนหนึ่งกินวันละเท่าใด เขาจะอิ่มด้วยข้าววันละ ๑ ปอนด์ ราคาประมาณ ๑ ลิอาร์ด และมีปลาแห้งอีกเล็กน้อย หรือไม่ก็ปลาเค็ม ซึ่งไม่แพงกว่าข้าวนัก เหล้าโรงหรือเหล้าที่ทำจากข้าว ขนาด ๑ ไปน์ ตกประมาณ ๒ ซู ก็พอแล้ว ฉะนั้นจึงไม่สงสัยว่าทำไมชาวสยามจึงไม่สู้ สนใจกับการทำมาหากินนัก พอตกค่ำก็ได้ยินแต่เสียงร้องรำทำเพลงไปทั่วทุกบ้านเรือน
  • ๕. น้ำจิ้มของชาวสยาม ทำกันอย่าง่ายๆ ใช้น้ำนิดหน่อยกับเครื่องเทศ กระเทียม หัวหอมกับผักบางชนิด เช่น กะเพรา พวกเขาชอบกินน้ำจิ้มเหลวชนิดหนึ่ง คล้ายกับมัสตาร์ด ประกอบด้วยกุ้งเคยเน่า เรียกว่า กะปิ
  • ๖. ชาวสยามทาตัวเด็กให้เป็นสีเหลือง สิ่งที่เขาให้แทนหญ้าฝรั่น เป็นหัวไม้ชนิดหนึ่งมีรสและสีอย่างเดียวกัน เมื่อตากให้แห้ง และป่นให้เป็นผงแล้ว เหง้าชนิดนี้เขาเห็นว่าเป็นการรักษาสุขภาพให้เด็ก
  • ๗. ชาวสยามบริโภคน้ำมันอะไร เขาไม่มีน้ำมันผลนัต น้ำมันผลมะกอก หรือน้ำมันอย่างอื่น นอกจากน้ำมันผลมะพร้าว ใช้บริโภคได้ดีเมื่อเคี่ยวออกมาใหม่ๆ ถ้าทิ้งไว้นานจะมีกลิ่นหืน
  • ๘. เรื่องที่เขียน (ผู้อ่าน) ต้องเข้าใจความนึกคิดของผู้แต่ง
  • ๙. ข้อคิดอีกประการหนึ่งเกี่ยวกับเรื่องเดียวกันนี้
  • ๑๐. ข้อคิดอีกประการหนึ่งเกี่ยวกับเรื่องเดียวกันนี้
  • ๑๑. น้ำนมที่กรุงสยาม เขามีน้ำนมจากควาย ซึ่งมีครีมมากกว่านมวัว
  • ๑๒. การแต่งกับข้าวชาวสยามใช้ปลาแห้งแต่งเป็นกับข้าวได้หลายรูปแบบ
  • ๑๓. อาหารจีนกับข้าวมากกว่า ๓๐ ชนิด ตามตำรับจีนที่นำมาเลี้ยงนั้น เขาไม่อาจกินได้สักอย่างเดียว
  • ๑๔. ชาวสยามไม่ชอบกินเนื้อสัตว์และไม่มีโรงฆ่าสัตว์ จะกินบ้างแต่ลำใส้และเครื่องใน ในตลาดมีตัวแมลงต่างๆ ปิ้ง ย่างวางขายอยู่ พระเจ้ากรุงสยามพระราชทานเป็ด ไก่ และสัตว์อื่นที่ยังเป็นๆ อยู่ให้เราต้องมาทำอาหารเอง เนื้อสัตว์ทุกชนิดเหนียว ไม่ค่อยฉ่ำและย่อยยากในที่สุดชาวยุโรปที่เข้ามาอยู่ในเมืองสยาม ก็ค่อยๆ เว้นกินเนื้อสัตว์
  • ๑๕. เป็ด ไก่ ชาวสยามไม่สนใจตอนไก่ เขามีแม่ไก่อยู่สองพันธุ์ พันธุ์หนึ่งเหมือนๆกับเรา อีกพันธุ์หนึ่งมีหนังและหงอนสีดำ แต่เนื้อและกระดูกขาว ส่วนเป็ดมีอยู่มาก และรสดีมาก
  • ๑๖.ทนก ชาวสยามบริโภคนก ซึ่งมีขนสีต่างๆ
  • ๑๗. สัตว์ที่เป็นเหยื่อล่าในป่า เขาไม่นิยมฆ่า หรือจับเอาตัวมากักขังไว้ พวกแขกมัวร์ชอบเลี้ยงเหยี่ยวไว้จับนกอื่น
  • ๑๘. นกพันธุ์แปลกๆ ในสยาม นกแทบทุกชนิดในสยามมีสีสันงามตามาก และขันได้ไพเราะมีอยู่หลายพันธุ์ พูดเลียนเสียงมนุษย์ได้ กากับแร้ง มีชุมและเชื่องมาก เพราะไม่มีใครทำอันตราย คนให้อาหารมันกิน
  • ๑๙. สิ่งที่เราเรียกว่าเนื้อสัตว์ไม่มีราคาในสยาม แพะกับแกะหาได้ยาก ตัวเล็กเนื้อไม่สู้ดีนัก หาซื้อได้จากชาวมัวร์เท่านั้น พระเจ้ากรุงสยามให้เลี้ยงแพะ แกะไว้จำนวนหนึ่งสำหรับพระองค์เอง ส่วนวัวกับควายผู้นั้น เขาเลี้ยงไว้ใช้ไถนา และขายแม่วัวเสีย
  • ๒๐. หมูเป็นของดีหมูนั้นตัวเล็ก และมีมันมากจนไม่น่ากิน
  • ๒๑. ราคาเนื้อสัตว์ แม่วัวราคาตามหัวเมืองไม่เกิน ๑๐ ซอลในพระนครตัวละ ๑๐ เอกิว แกะตัวละ ๔ เอกิว แพะตัวละ ๒ - ๓ เอกิว หมูตัวละ ๗ ซอล เพราะพวกมัวร์ไม่กินหมู ไก่ตัวเมียโหลละ ๒๐ ซอล เป็ดโหลละ ๑ เอกิว
  • ๒๒. สัตว์ปีกขยายพันธุ์มากในกรุงสยาม สัตว์จำพวก กวาง เก้ง มีชุม ชาวสยามฆ่ากวาง หรือสัตว์จำพวกนี้เพียงเพื่อถลกหนังเอาไปขาย ให้พวกฮอลันดาซึ่งกว้านซื้อไปขายเป็นสินค้าสำคัญในญี่ปุ่น
  • ๒๓. โรคภัยไข้เจ็บ ต้องตำหนิการดื่ม (สุรา) น้อยของชาวสยามแต่เมื่อเทียบส่วนสมดุล กับไฟธาตุของเขาแล้ว ก็พออนุมานว่าเขาไม่ได้ดื่มน้อยกว่าพวกเราเลย เขามีอายุไม่ยืนนัก โรคที่เป็นกันมากคือ โรคป่วงและโรคบิด บางทีเป็นไข้ตัวร้อน (จับสั่น) ซึ่งพิษอาจขึ้นสมองได้ง่าย และอาจคล้ายเป็นโรคปอดบวมได้ โรคปวดตามข้อ ลม อัมพาต ลมบ้าหมู วัณโรคปอด ปวดวท้องทุกชนิด และโรคไตอักเสบมีน้อย ส่วนมะเร็ง ฝีโพรงหนองและปรวตมีมาก ไฟลามทุ่งเป็นกันมาก ไม่มีโรคลักกะปิดลักกะเปิดและโรคท้องมาน
  • ๒๔. อะไรคือโรคห่าในกรุงสยามโรคห่าแท้จริงคือ ฝีดาษ เคยสังหารชีวิตมนุษย์เป็นอันมากอยู่เสมอ
ตอนที่ ๑ เครื่องนุ่งห่ม และรูปร่างหน้าตาของชาวสยามhttps://www.facebook.com/Signnagas/posts/731437163639848:0
ตอนที่ ๒ บ้านเรือนของชาวสยาม และฝีมือการก่อสร้าง
https://www.facebook.com/Signnagas/posts/732067013576863:0
ตอนที่ ๓ เครื่องเรือนของชาวสยาม
https://www.facebook.com/Signnagas/posts/733326163450948:0
ตอนที่ ๔ สำรับกับข้าวของชาวสยาม
https://www.facebook.com/Signnagas/posts/734108796706018:0
ตอนที่ ๕ รถและยานพาหนะทั่วไปของชาวสยาม
https://www.facebook.com/Signnagas/posts/735225446594353:0ok.com/Signnagas/posts/733326163450948:0
หมายเหตุ
  • - มองซิเออร์ เดอ ลาลูแบร์ได้ออกเดินทางจากท่าเรือเมือง เบรสต์ เมื่อวันที่ ๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๒๓๐ มาทอดสมอที่กรุงสยาม เมื่อวันที่ ๒๗ กันยายน พ.ศ. ๒๒๓๐ เดินทางกลับเมื่อวันที่ ๓ มกราคม พ.ศ. ๒๒๓๑ ขึ้นบกที่ท่าเรือเมืองเบรสต์ เมื่อวันที่ ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๒๓๑
  • ความมุ่งหมายในการเขียน เพ่งเล็งในด้านอาณาเขต ความอุดมสมบูรณ์ คุณภาพของดินในการกสิกรรม ภูมิอากาศเป็นประการแรก ต่อมาเป็นขนบธรรมเนียมประเพณีโดยทั่ว ๆ ไป และเฉพาะเรื่องเฉพาะราย เรื่องเกี่ยวกับรัฐบาล และศาสนาจะกล่าวในตอนท้าย และได้รวบรวมบันทึกความทรงจำ เกี่ยวกับประเทศนี้ ที่เขาได้นำติดตัวมาด้วยไปผนวกไว้ตอนท้าย และเพื่อให้ผู้อ่านได้รู้จักชาวสยามโดยแจ่มชัด จึงได้เอาความรู้เกี่ยวกับอินเดีย และจีนหลายประการมาประกอบด้วย นอกจากนั้นยังได้แถลงว่าจะต้องสืบเสาะให้รู้เรื่องราว พิจารณาสอบถาม ศึกษาให้ถึงแก่นเท่าที่จะทำได้ ก่อนเดินทางไปถึงประเทศสยาม ได้อ่านจดหมายเหตุทั้งเก่าและใหม่ บรรดาที่มีผู้เขียนขึ้นไว้เกี่ยวกับประเทศต่าง ๆ ในภาคพื้นตะวันออก ถ้าไม่มีสิ่งดังกล่าว เขาอาจใช้เวลาสักสามปี ก็คงไม่ได้ข้อสังเกต และรู้จักประเทศสยามดี
  • ทำอย่างไรถึงจะได้รับข้อความที่ทางเพจโพสทุกครั้ง ... กดคำว่า “ถูกใจ” แล้ว ใต้ “ภาพหน้าปก” จะมีคำว่า “รับการแจ้งเตือน” ให้กดที่คำนี้ จนเห็นเครื่องหมาย ‘ถูก’ ปรากฎขึ้น เพียงเท่านี้ คุณก็จะไม่พลาดข้อความดีๆอีกต่อไป

fb: นิทรรศการพลังแผ่นดิน
อัศจรรย์งานศิลป์ แผ่นดินสยาม
https://www.facebook.com/Signnagas

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น